การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแอปพลิเคชันส่งเสริมทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิต ให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินกลุ่มเป้าหมายการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 7 คน กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่นซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันส่งเสริมทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2) แบบประเมินทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทำการทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ งานวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE653260
ผลการวิจัยพบว่า
1) แอปพลิเคชันได้รับการพัฒนาตรวจสอบคุณภาพว่ามีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.36/85.11 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.81 แสดงให้เห็นว่าแอปฟลิเคชันส่งเสริมทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จด้านความจำขณะทำงานของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 81
Downloads
Article Details
References
จักรชัย โสอินทร์. (2555). คู่มือพัฒนาแอพพลิเคชัน Android. อินฟอร์เพรสการพิมพ์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419
ณัฐพงษ์ สังข์สอน. (2565). การพัฒนาแอพลิเคชั่นมือถือเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานนำเข้าสินค้า กรณีศึกษาบริษัท ดีดี 1971 จำกัดและเครือบริษัท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5284
ธนกร แก้วมณี. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9(2), 729-743. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/239919
นิตยา คชภักดี. (2551). ขั้นตอนการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิ-5 ปี. สถาบันแห่งชาติ เพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2557). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง สมองของเด็กพิเศษ: แนวคิด ใหม่ในการกระตุ้นกลไกฟื้นตัวตามธรรมชาติของสมอง. ศูนย์วิจัยระบบประสาทวิยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2551). เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การใช้แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. ศูนย์วิจัยประสาทวิยาศาสตร์ สถาบัน ชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.
เผชิญ กิจระการ และ สมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). วารสารการวัดผลการศึกษา, 8, 30-36. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/154725
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันท์. (2560). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ ในภาษาอังกฤษ.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิชัย ระเวงวัน. (2564). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยบนสมาร์ทโฟน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(2), 167-180. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/249181
ล้วน สายยศ. และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผล การเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุวีริยาสาส์น
วรรณวดี ชัยชาญกุล. (2552). การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏในอนาคต.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ศิวลักษณ์ เจือจุล. (2554). การศึกษาการแปรเสียงพยัญชนะในภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึงอย่างรุนแรง. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). มติชน.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. และสถาบัน RLG รักลูก เลิร์นนิ่งกรุ๊ป. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. โรงพิมพ์ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด.
เอกรินทร์ วทัญญูเวิศสกุล. (2564). การพัฒนาแอ็ปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบข้อม แพลฟอร์ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.