การศึกษาผลการใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในระดับอุดมศึกษาช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

Main Article Content

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน
ชิสาพัชร์ ชูทอง
ชนันกาญจน์ สุวรรณเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งในมีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาผลการใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และ 2)ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1)แผนการออกแบบการจัดการเรียนรู้การใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มเป้าหมายที่ในการวิจัยคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการวิจัยในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป1วิชาเภสัชสาธารณสุขและวิชาการจัดการสารสนเทศในงานสาธารณสุข จำนวนทั้งหมด 74 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง


ผลการวิจัย พบว่า


1) ผลการใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.58, S.D.=0.50) เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ได้แก่ Zoom, Microsoft teams, Padlet, Mentimeter, Jamboard, Kahoot! และ Quizizz ผู้วิจัยได้เห็นถึงการรับรู้ การเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นักศึกษาสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เกิดปฏิสัมพันธ์ถึงแม้จะเป็นการสอนในรูปแบบออนไลน์ ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียน มีการโต้ตอบ มีการสื่อสารสองทางระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และ


2) ความพึงพอใจการใช้เครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.60, S.D.=0.49)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). ประกาศ มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19). https://www.mhesi.go.th/home/index.php/pr/covid-19/covid-policy

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. อรุณการพิมพ์.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2565). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. ครุศาสตร์สาร. 15(1), 29-43. https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/18/articles/318

จินตวีร์ คล้ายสังข์ (2560). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑามาศ ใจสบาย. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 5(14), 164-175. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/253982

ฐิติภา แซ่จิว, ณัฐพร พลายระหาร และวันเพ็ญ คำเทศ. (2565). สภาพและปัญหาการเรีนนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของนักศึกษาครูชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (2676-2685)

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2565). ฉันจะสอนอย่างไรให้สนุกในยุคไอซีที. บริษัท ดีเซมเบอร์รี่ จำกัด.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน และชิสาพัชร์ ชูทอง. (2565). การพัฒนาเทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาด้วยวิธีการแบบผสมผสานภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารเทคโนโลยีและการสื่อสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 5(13), 34-49. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/252189

ดุุษฎี ศรีสองเมือง และเหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทัักษะการคิดเชิงคํานวณในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 6(18), 101-111. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/263167

ตูแวยูโซะ กูจิ, อดิศร ศิริ, ธวัชศักย์ ตั้งปณิธานวัฒน์, จารึก สระอิส และขวัญชัย วัฒน์ศักดิ์. (2564). ผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้ Zoom Application ในรายวิชาพลศึกษาสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ารสารบรรณศาสตร์ มศว. 14(2), 76-84. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JLIS_SWU/article/view/252697

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). ศิลปะการสอน เพื่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). วีพริ้นท์.

ทวีสุข โภคทรัพย์, ธรัช อารีราษฎร์, สายชล จินโจ และเผด็จ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). การสังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีทีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบัน การพลศึกษา. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 6(2), 145-165. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/74811

ธงชัย เส็งศรี และสุภาณี เส็งศรี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบ e-CLIP ของนิสิตครู สาระวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(2), 138-152. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/82068

ธีรภัทร กุโลภาส. (2561). การใช้โปรแกรม Mentimeter เพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในชั้นเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต. 12(2), 13-23. https://jrtl.rsu.ac.th/volume/12/number/2/article/207

นฤมล บุญส่ง (2561). สื่อสังคมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 11(1), 2873-2885. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/124218

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอน และสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 2(3), 4-6.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่

ปิยรัตน์ รอดแก้ว, อุทุมพร ดุลยเกษม และสิงห์ กาญจนอารี. (2565). สภาพการเรียนการสอนออนไลน์ช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(2), 125-141.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. สำนักพิมพ์ประสานมิตร.

พิมพ์พจี ปณารัตน์ และวรวุฒิ มั่นสุขผล. (2561). ผลการเรียนอีเลิร์นนิ่งร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ศิลปากร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 16(2), 88-98. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/117240

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2564). การออกแบบและพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย. ดีเซมเบอรี่.

วีรนุช คฤหานนท์, นิภา จันทร์อ่อน และดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2566). การศึกษาสมรรถนะการบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีในยุคการศึกษาวิถีใหม่. วารสารสถาบันพัฒนาการเรียนรู้ศาสตร์สมัยใหม่. 8(1), 110-126. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/258389

รุ่งทิพย์ เทพประสิทธิ์. (2654). ผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง สร้างสื่อ Infographic กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารภาวนาสารปริทัศน์. 1(3), 15-26. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/WJR/article/view/254586

สุขนิษฐ์ สังขสูตร และจอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์

ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564. (1-12)

สุทธิดา จำรัส. (2563). การเรียนรู้ที่บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยี. บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

สุทธิณี ภาพพิมพ์ใจ, สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา และปริญญา ทองสอน. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เทคโนโลยีน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วารสารวิชาการ. 10(1), 149-165. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/143891

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนยุคใหม่เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง ด้วยการบูรณาการไอซีทีในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อุบลวรรณ ทัพซ้าย และยชุรเวท หงส์สิริ. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสัโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนอนุบาล เมืองเลย จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 2(4), 37-43. https://ojs.mbuslc.ac.th/index.php/issj/article/view/74

Adams, M. (2004). The top ten technologies: #3 Augmented Reality. http://www.naturalnews.com/001333.html

Aljaloud, A., Gromik, N., Billingsley, W. and Kwan, P. (2015). Research trends in student response systems: a Literature Review. International Journal of Learning Technology. 10(4), 313-325. https://www.researchgate.net/publication/289570995_Research_trends_in_student_response_systems_A_literature_review

Panich, V. (2012). 21st Century Learning Path for Disciples. Bangkok: Sodsri-Saridwongso Foundation

Wang, A. I., and Lieberoth, A. (2016). The Effect of Points and Audio on Concentration, Engagement, Enjoyment, Learning, Motivation, and Classroom Dynamics Using Kahoot!. Proceedings of the European Conference on Games Based Learning, (1738-1746). https://www.researchgate.net/publication/309292067_The_effect_of_points_and_audio_on_concentration_engagement_enjoyment_learning_motivation_and_classroom_dynamics_using_Kahoot

Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Inter-Parliamentary Union, 9-10.