การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

จุฑามาศ ใจสบาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 3) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ที่ลงทะเบียนรายวิชา การรู้สารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบวัดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test dependent


ผลการวิจัย พบว่า


1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/82.42


2) การเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01


3) การเปรียบเทียบคะแนนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4) นักศึกษามีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.09 S.D =0.33)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

นุจรี บุรีรัตน์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(3), https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/188209

บุญทิพย์ สิริรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy. 2(3), 1-17.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย นันทราช, สำราญ กำจัดภัย และอุษา ปราบหงษ์ (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 10(29) https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=8

สรพงค์ สุขเกษม. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน รายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร]. (Thailis), https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

สังคม ไชยสงเมือง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. (Thailis), https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php

สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์. (2563). รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูในการออกแบบ นวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/244534

Beaver, J. k., Hallar,B., Westmaas, L. (2014, September). Blended Learning: Defining Models and Examining Conditions to Support Implementation. PERC Research Brief. https://www.researchforaction.org/research-resources/k-12/blended-learning-defining-models-and-examining-conditions-to-support-implementation/

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill, Book Company.

Suh, Sookyung. (2005). The Effect of Using Guided Questions and Collaborative Groups for Complex Problem Solving on Performance and Attitude in a Web-Enhanced Learning Environment. ResearchGate. https://www.researchgate.net/publication/242383725_The_Effect_of_Using_Guided_Questions _and_Collaborative _Groups_for_Complex_Problem_Solving_on_Performance_and_Attitude_in_a_Web-enhanced_Learning_Environment