รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

สุวิสาข์ จรัสกมลพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู  2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ  และ 3) ศึกษาผลการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์รูปแบบฯ ด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เอกสาร  2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 45 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (sample random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสังเคราะห์เอกสาร  2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Guilford (1967) ใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สถานการณ์ปัญหาท้าทายความคิด (2) สืบเสาะแนวทางการสร้างสรรค์นวัตกรรม (3) ลงมือสร้างนวัตกรรม  (4) การอภิปรายผลงานและรับข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข 2) รูปแบบการส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.68 , S.D. 0.39)  3) การคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู คะแนนการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดตามแนวคิดคอนเน็คติวิสต์ซึมเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
จอมสุรางค์ ลิมป์ประเสริฐกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบชุมชนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).
วราลี ฉิมทองดี. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครู โดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วราลี ฉิมทองดี. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครู โดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 11(2), 1-14.
สมใจ สืบเสาะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สาหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).
สุชิรา มีอาษา จิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์ และกฤช สินธนะกุล. (2561). การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับระบบพี่เลี้ยงอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 1. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(1), 76-84.
สุธินันท์ บุญพัฒนาภรณ์. (2560). จากผลการประเมิน PISA สู่บทบาทผู้เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(1), 16-29.
อภินภัศ จิตรกร. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมกันแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบกราฟิกสำหรับสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(1), 23-42.
Amabile, Teresa M. (1983). The social psychology of creativity: A componential conceptualization. Journal of Personality and Social Psychology, 45(2), 357-376. Doi: http://dx.doi.org/10.1037/0022-3514.45.2.357
Dececco, J.P. (1998). The psychology of learning and instruction education psychology. Englewood cliffs. New jersey : Prentice-Hali.Inc.,
Elif Celebi Oncu. (2016). Improved creative thinkers in a class : A model of activity based tasks for improving university students’creative thinking abilities. Education Research and Reviews Journals, 11(8), 517-522.
Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw-Hill, Book Company.
Joan M.Leonard John J. Fallon, and Harold von Arx. (1972). General Methods of Effective Teaching: A Practical Approach. New York: Thomas Y. Crow ell,.
Lu, Yao & Zheng. (2013). Teaching Quality Management Model for the Traning of Innovation Ability and the Multilevel Decomposition Indicators. International Journal of Higher Education, 2(5), 115-122.
Michelle. (2011). Creative Solution Finding: The AIIM Process Available; from http://creativeemergence.typepad.com/the_fertile_unknown/creative_organizations/Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2018). Design Thingking Bootleg. D.school at Stanford. Available; University.
Torrance E.P. and Mers, R.E. (1972). Creative Learning and teaching. New York : Dood, Mead and Company.
Von Stamm,B . (2008). Managing innovation, design and creativity. Chichester, UK: John Wiley & Sons Inc.
Wallas. G. (1926). The art of thought. London : Jonathan Cape.