การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เทคโนโลยีน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ สื่อมัลติมีเดียเรื่องเทคโนโลยีน่ารู้
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำาหนด 80/80 เพื่อเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเทคโนโลยีน่ารู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียน
โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย และเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อสื่อมัลติมีเดียของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี จำานวน 35 คน ใน
ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำานวน 20
ข้อ แบบวัดเจตคติ เป็นข้อคำาถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำานวน 10
ข้อ และ แผนการจัดการเรียนรู้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เทคโนโลยีน่ารู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3 จำานวน 4 แผน ทำาการสอนคาบละ 50 นาที จำานวน 8 คาบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test แบบ (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สื่อมัลติมีเดีย เรื่องเทคโนโลยีน่ารู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 มีประสิทธิภาพ 92.14/ 85.44
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เทคโนโลยีน่ารู้ ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เจตคติของนักเรียนต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องเทคโนโลยีน่ารู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่ : บริษัท ครองช่างพริ้นติ้ง จำากัด.
ณรงค์วิทย์ อู่เงิน. (2556). รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปราณบุรี. ประจวบคีรีขันธ์,
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธราภพ ยานการ. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการสร้างเว็บเพจ สำาหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธวัชชัย สหพงษ์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ สำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา
คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
เทอดศักดิ์ ไชยสมปาน. (2557). ปัญหาการศึกษาไทยและแนวทางแก้ไข. (ออนไลน์). สืบค้นจาก
https://www.gotoknow.org/posts/409185.
นงนุช วรรธนะวหะ. (2535). คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน. วารสารรามคำาแหง. กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยรามคำาแหง,
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปุณยวีย์ เมฆประพันธ์. (2554.) การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องการใช้สูตรคำานวณ
ในโปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซลสำาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). วิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทพรอพเพอร์ตี้พริ้ทน์ จำากัด.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
วิจารณ์ สงกรานต์.(2552). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พอยเตอร์และลิงค์ลิสต์. รายงาน
การวิจัยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.,
ศิริรัตน์ กระจาดทอง. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีเกมวิชาคอมพิวเตอร์
เบื้องต้น เรื่องส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน
ศรีประจันต์ "เมธีประมุข" จังหวัดสุพรรณบุรี. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร,
Crews, Janna Margarette. (2004). Principles and Methodology for Computer Assisted
Instruction (CAI) Design. Arizona. USA.
Gagne, R.M. (1977). The Conditions of Learning and Theory of Instruction. New York :
Holt Rinchert and Winstin.
Sowell, E. (2000). Curriculum: An integrative introduction (2nd ed.). Upper Saddle River,
NJ:Merrill Prentice Hall.