https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/issue/feed
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
2023-08-24T10:21:13+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สุพัตรา รักการศิลป์
supit.kc@bru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิชาการ</strong></p> <p> วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) บทความวิจารณ์หนังสือ (Book review) <br />และบทความวิชาการ (Academic articles) ในสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p><strong>อัตราค่าตีพิมพ์</strong> 3500 บาท/บทความ</p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/264754
พัฒนาการใหม่ของการอภิวิเคราะห์
2023-08-10T10:44:29+07:00
รศ.ดร.สุพัฒน์ สุกมลสันต์
ssuphatz@yahoo.com
<p>การอภิวิเคราะห์คือการวิจัยเชิงสังเคราะห์ผลการวิจัยปฐมภูมิจำนวนมากโดยวิธีการ<br>ทางสถิติเพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากกว่าผลการวิจัยปฐมภูมิแต่ละ<br>เรื่องจึงเป็นการวิจัยที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น แต่ก็มีจุดด้อยบางอย่างที่ได้รับการวิจารณ์มาก<br>จึงได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นในหลายๆด้าน เช่น มีโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับ<br>การคำนวณที่ซับซ้อนจำนวนมาก มีสถิติสำหรับการตรวจสอบลักษณะต่างๆ ของข้อมูลเพิ่มขึ้น<br>และมีวิธีวิจัยที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความหลากหลาย<br>มาก และให้ได้ผลการวิจัยหลายอย่างที่ก้าวหน้ากว่าเดิม เช่น Meta-Regression, Multilevel<br>Meta-Analysis, Network Meta-Analysis และ Bayesian Meta-Analysis เป็นต้น</p>
2023-08-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/265007
ส่วนหน้าและสารบัญ
2023-08-24T10:21:13+07:00
วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
supit.kc@bru.ac.th
<p>ส่วนหน้าและสารบัญวารสารวิชาการ </p>
2023-08-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/260339
An Analysis of English Subject-Verb-Agreement and Verb Inflections by Morpho-Syntactic Approach for EFL Teaching at Rajamangala University of Technology, Thailand
2023-01-23T22:48:43+07:00
Lakkana Bunnarong
pao_pao2523@hotmail.com
<p><span class="fontstyle0">งานวิจัยนี้จัดทำาขึ้นเพื่อพัฒนาการเขียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะ<br />ภาษาต่างประเทศ เรื่องความสอดคล้องระหว่างประธานกับกริยาและการผันกริยา<br />(Subject-Verb-Agreement: SVA) โดยใช้รูปแบบการดำาเนินการวิจัยแบบการวิจัยผสมวิธี 2<br />ขั้นตอน ในขั้นตอนแรก ด้านการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่าการผลิตโครงสร้าง SVA และรูปแบบ<br />กริยาที่ผันในภาษาอังกฤษ มีเพียงแค่หนึ่งระบบเท่านั้น โดยการวิเคราะห์ตามเฟรมเวิร์คมินิมัล<br />ลิสต์โปรแกรมในระดับไวยากรณ์ของหน่วยคำา จากในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษทั่วไปที่<br />ใช้ในปีการศึกษา 2563 โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ซึ่งมีระบบที่สัมพันธ์กัน<br />ระหว่างกฎของ SVA ในระดับวากยสัมพันธ์และกระบวนการผันกริยาในระดับวิทยาหน่วยคำาใน<br />ภาษาอังกฤษทำาให้สามารถสร้างโครงสร้าง SVA ได้ถูกต้องและครบทุกรูปแบบผ่านกระบวนการ<br />ผันกริยาในระดับวิทยาหน่วยคำา โดยการเติมหน่วยคำาท้าย (inflectional suffix) รากศัพท์ของ<br />คำากริยา และการแทนที่รากศัพท์ของกริยาด้วยคำาอื่น (suppletion) ส่วนในขั้นตอนการดำาเนิน<br />วิจัยขั้นที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัย</span> <span class="fontstyle0">เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล จำานวน 63 คน โดยกำาหนดขนาดของ<br />กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำาเร็จรูปของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และคัดเลือก<br />กลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการศึกษาพบว่า 1) เนื้อหาที่ได้สร้างขึ้นในสื่อการ<br />สอนตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching:<br />CLT) ในโปรแกรมพาวเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ได้สร้างขึ้นจากการประยุกต์ใช้โมเดลของ<br />การวิเคราะห์เนื้อหา สำาหรับสร้างบทเรียนการเขียนภาษาอังกฤษ จำานวน 4 หัวข้อ ที่มีการรวม<br />ความรู้ด้านวากยสัมพันธ์ (syntax) และวิทยาหน่วยคำา (morphology) ของการสร้างคำา (word<br />formation) กริยาที่ผันในภาษาอังกฤษเพื่อผลิตโครงสร้าง SVA ในบริบทต่างๆ 2) นักศึกษาได้<br />คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นหลังจากใช้สื่อการสอนแบบ CLT อย่างมีนัยสำาคัญที่ค่า 0.001 และมีขนาด<br />ของผล (Cohen’s d) ที่ 1.18 ซึ่งเป็นค่าผลที่มีขนาดใหญ่มาก 3) มีผลคะแนนเฉลี่ยโดยภาพ<br />รวมจากการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการสอนแบบ CLT ที่ 4.71/ 5.00 มี<br />ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.=.316) หรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิจัยนี้<br />สามารถนำาไปใช้ประโยชน์ในการเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อการสอนแบบ CLT ที่บูรณาการความ<br />รู้ทั้งวากยสัมพันธ์ และวิทยาหน่วยคำาภาษาอังกฤษช่วยให้นักศึกษาสามารถเขียนโครงสร้าง SVA<br />ในภาษาอังกฤษและรูปแบบกริยาที่ผันได้ถูกต้องแม่นยำายิ่งขึ้น</span> <br /><br /></p>
2023-08-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/262002
การสร้างกลองฮุ่ยกู่ของชาวจ้วง เมืองกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
2023-04-05T11:11:43+07:00
Shi lin
slplus40@gmail.com
<p>บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง กลอง ฮุ่ยกู่ของชาวจ้วง ในเมืองกวางสี ประเทศจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการสร้างกลองฮุ่ยกู่ของชาวจ้วงในเมืองกวางสี ประเทศจีน ใช้การเก็บข้อมูลภาคสนามจากช่างทำกลอง โดยคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 2 ท่าน</p> <p><strong> </strong>ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างกลองประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ 1)ขั้นตอนการเลือกวัสดุ ประกอบไปด้วย การเลือกไม้, การเลือกหนังวัว, การเลือกไม้ไผ่ และ 2) ขั้นตอนการทำกลอง ประกอบด้วย การเจาะหุ่นกลอง (แบบเดิม) หรือการประกอบหุ่นกลอง (แบบสมัยใหม่), การขึ้นหนังหน้ากลอง, การร้อยเชือก และการปรับเสียง โดยทั้งสองวิธีใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ในการสร้างและปรับแต่ง</p>
2023-08-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/263074
ดนตรีและเพลงพื้นบ้าน : การพัฒนากิจกรรมดนตรีรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์
2023-06-19T12:06:02+07:00
ธิติ ปัญญาอินทร์
thiti.py@bru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี<br>และเพลงพื้นบ้านดนตรีเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคมรองรับสังคมสูงวัยในจังหวัดบุรีรัมย์โดยใช้การวิจัย<br>เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม<br>(Participatory Action Research- PAR) ขอบเขตการวิจัยศึกษากับกลุ่มเป้าหมายการวิจัยคือผู้สูงอายุ เขต<br>เทศบาลตำบลอิสาน อำเภอเมืองบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน โดยนำ<br>ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) การ<br>พัฒนาการจัดกิจกรรมเรียนรู้ดนตรีและเพลงบ้าน โดยเพลงที่ใช้ ทำนองเพลงเขมร หรือมีอีกชื่อว่า เพลงแก้วรอ<br>ริน โดยรูปแบบของกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีและเพลงบ้านสำหรับผู้สูงวัย ประกอบด้วย หัวข้อ วัตถุประสงค์<br>เนื้อหาสาระ ลักษณะกิจกรรม และระยะเวลา โดยใช้อังกะลุงเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรม 2)<br>ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ดนตรีสำหรับผู้สูงวัย ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดจากความร่วมมือของผู้สูงวัยใน<br>ชุมชน เทศบาล ภาคีเครือข่ายอื่นๆ ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงความคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมใน<br>หลักสูตรผู้สูงวัยนำร่อง โดยได้สะท้อนผลการดำเนินกิจกรรมและความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม และ<br>ต้องการให้มีการนำหลักสูตรผู้สูงวัยนำร่องไปใช้ในโรงเรียนผู้สูงวัยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความ<br>พึงพอใจต่อการเรียนรู้ระดับมาก</p>
2023-08-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/261232
การจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์
2023-06-19T13:26:47+07:00
Chatchawal Buttong
chatchawalb53@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้วิธีการทดลองแบบ One group pretest-posttest design กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสวนหลวงสาธิต สปจ.อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 31 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.97/89.35 2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ทุ่งกะโล่ศึกษาโดยใช้โครงงานบูรณาการภูมิสังคมเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก (=4.32 และ S.D.=0.64)</p>
2023-08-10T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์