วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj <p><strong>วารสารวิชาการ</strong></p> <p> วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นวารสารที่พิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) <br />และบทความวิชาการ (Academic articles) ในสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย <br />1. บทความด้านการศึกษา <br />2. บทความด้านดนตรี และประวัติศาสตร์ดนตรี <br />3. บทความด้านการบัญชี</p> <p><strong>อัตราค่าตีพิมพ์</strong> 3,500 บาท/บทความ</p> <p> </p> มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ th-TH วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1906-7062 <ul><li>ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร </li><li>เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์</li></ul> การพัฒนาการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการรับมือกับภัยพิบัติสำหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยตง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/274489 <p> การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการรับมือกับภัยพิบัติสำหรับผู้ปกครอง 2) เพื่อวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) เพื่อศึกษาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรมการรับมือกับภัยพิบัติสำหรับผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยตง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการใช้หลักสูตรฝึกอบรมผู้ปกครอง แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ แบบวัดความพึงพอใจชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 หัวข้อ หัวข้อละ 4 ประเด็น และแบบสังเกตทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นไปตามกระบวนการจริยธรรมในมนุษย์ ประกอบด้วย เด็กปฐมวัยที่อยู่ในครอบครัวเดียวกันกับผู้ปกครอง จำนวน 18 ครอบครัว รวมทั้งสิ้น 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>หลักสูตรฝึกอบรมการรับมือกับภัยพิบัติสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย 5 หัวข้อ ได้แก่ (1) อยู่กับดิน (2) กินกับน้ำ (3) เล่นกับลม (4) ล้อกับไฟ และ (5) เรียนรู้กับคนและสารเคมี มีประเด็นย่อย 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การตระหนักถึงอันตรายจากภัยพิบัติ (2) การประเมินและการเตรียมรับมือขั้นพื้นฐาน (3) การเอาตัวรอดและการขอความช่วยเหลือ (4) การฟื้นฟูสภาพจิตใจหลังจากเกิดภัยพิบัติ</li> <li>ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.89, S.D. = 0.31) โดยมีระดับความพึงพอใจในหัวข้อ “ล้อกับไฟ” สูงที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.94, S.D. = 0.23)</li> <li>ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองที่ผ่านการใช้หลักสูตรฝึกอบรมผู้ปกครอง สูงกว่าก่อนใช้หลักสูตร ร้อยละ 41.94</li> </ol> Supunnika Srisuwan Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-02 2025-01-02 16 2 27 38 การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดย ใช้เทคนิค 5W1H: กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/274913 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน <br />โดยใช้เทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค 5W1H ซึ่งเป็นกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนการอ่าน ใช้รูปแบบการตั้งประเด็นคำถามด้วย Who, What, When, Where, Why, และ How เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการคิดวิเคราะห์เนื้อเรื่องจากการอ่านและเสริมด้วยชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามระดับขั้นการเรียนรู้ของ Bloom ในขั้นที่ 1-3 ได้แก่ ขั้นความรู้ความจำ ขั้นความเข้าใจ และขั้นการประยุกต์ใช้ เพราะมีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และสอดคล้องกับเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน 2551 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแคน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ จำนวน 12 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง .43 – .83 และอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .27 – .67 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยเทคนิค5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 32.90 และมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 15.93 2) ชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 คือ 83.12/82.25 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค 5W1H อยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.30, S.D = 0.75)</p> นุชรัตน์ สีมาวัน Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-02 2025-01-02 16 2 39 49 การพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าหมักโคลนบารายพันปี เพื่อยกระดับความสามารถ ในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/273524 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและกระบวนการทำผ้าหมักโคลนบารายพันปี 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าหมักโคลนบารายพันปี และ 3) เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าหมักโคลนบารายพันปีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสนทนากลุ่มย่อย และการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กลุ่มทอผ้าหมักโคลนบารายพันปีชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์</p> <p> ผลการวิจัย 1) ผ้าหมักโคลนบารายพันปีเป็นภูมิปัญญาที่ต่อยอดจากการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติของกลุ่มสตรีในชุมชน ต่อมาได้นำโคลนที่อยู่ใต้สระน้ำบริเวณปราสาทเมืองต่ำมาย้อมสีผ้าทำให้ผ้ามีสันที่เปลี่ยนไป มีความสวยงามแปลกตา และมีความนุ่มของเนื้อผ้ามากขึ้นกว่าเดิม 2) กลุ่มทอผ้าได้มีการพัฒนาการทอผ้าจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนนั่นคือ “ผ้าบารายพันปีสีกลีบบัว” ซึ่งมีที่มาจากดอกบัว 8 กลีบ ที่อยู่ในสระบัวปราสาทเมืองต่ำ นอกเหนือจากผ้าบารายพันปีสีกลีบบัวทางกลุ่มยังมีความต้องการที่จะพัฒนาและต่อยอดผ้าหมักโคลนให้มีสีสันที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเพิ่ม ด้วยการทดลองย้อมผ้าจากวัสดุให้สีธรรมชาติสีเขียวเพื่อเป็นตัวแทนของใบบัวที่อยู่ในสระบัวเช่นเดียวกันกับดอกบัว 8 กลีบ และ 3) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากผ้าหมักโคลนของกลุ่มในปัจจุบันประกอบด้วย ผ้าทอสีพื้น ผ้าคลุมไหล่ และผ้าพันคอ ทางกลุ่มได้เสนอว่าควรมีการจัดทำผลิตภัณฑ์จากผ้าหลักโคลนบารายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความหลากหลายและเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ จึงมีการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เป็นกระเป๋าใส่ของ และหมอนรองคอ และทางกลุ่มเห็นว่าควรนำความรู้เหล่านี้มาจัดเผยแพร่ผ่านสื่อเทคโนโลยี จึงได้มีการทำคู่มือการทอผ้าหมักโคลบารายพันปี เพื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นกระบวนการตั้งแต่การสร้างการจัดการความรู้ การกระจายความรู้ให้ผู้อื่น ทำให้ความรู้ถูกสร้างในเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และแสดงรูปแบบการนำไปใช้ได้สะดวกและช่วยให้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น</p> สายฝน อุไร ฐิติพร วรฤทธิ์ แก้วมณี อุทิรัมย์ กานต์มณี การินทร์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-02 2025-01-02 16 2 15 26 การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านกระบวนการโค้ช สำหรับนักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/bruj/article/view/274378 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาหลังการได้รับการโค้ช 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากนักศึกษาที่ได้รับการโค้ช และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ได้รับการโค้ช กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 10 คน ที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาจำนวน 7 โรงเรียน ห้องเรียนและนักเรียนที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอนจำนวน 10 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 225 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายเป็นอาจารย์นิเทศก์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แผนการสอนที่ออกแบบที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาหลังการได้รับการโค้ชโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากนักศึกษาที่ได้รับการโค้ชมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีร้อยละความก้าวหน้าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากต่อการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่ได้รับการโค้ช</p> จุรี สุวรรณศรี จักราวุธ สิทธิพรมมา Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-01-02 2025-01-02 16 2 1 14