การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ดุษฎี ศรีสองเมือง
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดเชิงคำนวณในรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 90/90 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบผสมผสาน ร่วมกับเกมิฟิเคชันกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเกมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 37 คน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับเกมิฟิเคชัน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3)แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ และสถิติที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) และสถิติทดสอบค่าทีแบบ One sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ มีประสิทธิภาพ 91.04/88.92 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากการวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคะแนนการคิดเชิงคำนวณสูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับเกมิฟิเคชัน ของนักเรียนภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์คุรุสภา.

กฤษฎากร ผาสุก.(2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็มศึกษา วิชาวิทยาการคำนวณ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3823/1/60257401.pdf

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้ผสมผสาน Blended Lerning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. ครุศาสตร์สาร. 15(1), 29-43.

จีระพร สังขเวทัย.(2562). “Coding กับการศึกษาในศตวรรษที่ 21”. สสวท. 47(220), 34-35.

ชนกนาถ นมะภัทรและอัมพร วัจนะ. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่นเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(9),207-222.

โชติกา สงคราม. (2562).การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(1), 203-217. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/187496

พิมพวิภา มะลิลัย. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน วิชาภาษาจีนกลาง เรื่อง พินอิน ดวยกูเกิลคลาสรูม (Google Classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3. e-Journal of Education Studies, Burapha University[eJES]. 2(2), 31-43. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/241795

ยุภารัตน์ พืชสิงห์. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . ว.มรม. 16(1). 40- 52. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/258438

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายววิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์

สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4. กระทรวงศึกษาธิการ.

Constantinou, V. and Loannou, A. (2018). Towards the Use of Social Computing for Social Inclusion: An Overview of the Literature. HCI International 2018,USAVolume. LNCS 10924. https://www.researchgate.net/publication/325438063_Towards_the_Use_of_Social_Computing_for_Social_Inclusion_An_Overview_of_the_Literature

Garnham R.L. & Kaleta H. (2002). Educational Leadership: Culture and Diversity. Gateshead: Athenae um Press.

Karl M. Kapp. (2012). The gamification of learning and instruction: Game-based methods and strategies for training and education. Pfeiffer. 26-49. https://www.researchgate.net/publication/273947281_The_gamification_of_learning_and_instruction_Game-based_methods_and_strategies_for_training_and_education_San_

Francisco_CA_Pfeiffer Tsarava, K.,et al. (2017). Training Computational Thinking: Game-Based Unplugged and Plugged-in Activities in Primary School. In 11th European Conference on Game-Based Learning ECGBL 2017. (687-695). Graz, Austria: FH JOANNEUM University of Applied Sciences, Graz, Austria. https://www.researchgate.net/publication/320491120_Training_Computational_Thinking_Game-Based_Unplugged_and_Plugged-in_Activities_in_Primary_School