การพัฒนาเทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาด้วยวิธีการแบบผสมผสานภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 2) ศึกษาความสามารถด้าน การออกแบบสื่อการสอนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสานในการพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 2) แบบประเมินความสามารถด้านการออกแบบสื่อการสอนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ 4) แบบสัมภาษณ์ และ 5) แบบการเขียนอนุทิน กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการสร้างสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 48 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในการพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (PAOR) โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกตผล และ 4) การประเมินสะท้อนกลับ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและมีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี 2) ความสามารถด้านการออกแบบสื่อการสอนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.08 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.41 อยู่ในระดับมีความสามารถมาก และ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ0.48 อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กาญจนา บุญภักดิ์. (2557). การจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.
----------. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 1-6.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดนัยศักดิ์ กาโร (2562). การปฏิบัติการสอนสู่ห้องเรียน 4.0 ด้วย Google for Education. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ณัฐญา นาคะสันต์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการสร้างสื่อการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา จังหวัดชัยนาท. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 13(1), 36-51.
พงษ์มนัส ดีอด. (2563). ทางเลือกทางการศึกษาภายใต้สภาวะปกติใหม่: บ้านเรียน(Home School). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 384-395.
เพ็ญศรี ปัญญาแก้ว และ ทวี สระนํ้าคํา. (2560). ผลของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบการสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2). https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/113609
พธิศักดิ์ โพธิเสน และชาตรี ฝ่ายคําตา. (2560). ฉันควรพัฒนาแบบจําลองทางความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร?: การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(1). http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/8816
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2564). การปรับพฤติกรรม: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้และวิจัย. บริษัท ซีเอที. โซลูชั่น จำกัด.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัย, 9(14), 285-298. DOI: https://doi.org/10.14456/rhpc9j.2020.18
วัยวุฒิ บุญลอย, ธีรังกูร วรบำรุงกุล, มนตรี วิชัยวงษ์ และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564). โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1). https://so01.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/ view/241747
สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-214.
สุมาลี เชื้อชัย. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนแบบผสมผสาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 214-221.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อุมาพร คาดการณ์ไกล. (2558). การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพของการเรียนการสอนผานสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรายวิชาการเขียนภาษาอังกฤษ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 35(1), https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/17790
เอกรัตน์ ทานาค. (2561). การนําความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีผนวกศาสตร์การสอนในเนื้อหาวิชาเฉพาะไปใช้ปฏิบัติการสอนในห้องเรียนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรผลิตครู 2 ปี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2). http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/11055
Jonassen, D., Peck, K., and Wilson, B. (1999). Learning with technology: a constructivist perspective. Upper Saddle River, Prentice Hall.
Koohang, A. (2009). A learner-centered model for blended learning design. International Journal of Innovation and Learning, 6(1). DOI: 10.1504/IJIL.2009.021685 https://www.inderscience.com/info/inarticle. php?artid=21685
Koohang, A., Riley, L., and Smith, T.J. (2009). E-learning and constructivism: from theory to application. Interdisciplinary Journal of E-learning and Learning Objects, 5. https://www.researchgate.net/publication /253323118_E-Learning_and_Constructivism_From_Theory_to_Application
Proske, A. and Korndle, H. (2004). The impact of a hybrid learning initiative in university instruction. In Proceedings of I-Know ’04, Graz, Austria, 576-583.