การพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพในชุมชนผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น “การแทงหยวก” สำหรับนักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตร 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร และ 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตร มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษา ความต้องการจำเป็น ขั้นที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม และขั้นที่ 3 การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 315 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รวมทั้งสิ้น 17 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็น มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 2) หลักสูตร ฝึกอบรม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 4) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ มีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และแบบประเมินความพึงพอใจ มีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นด้านสภาพที่เป็นจริง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 ส่วนสภาพที่ควรจะเป็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน มีค่าเฉลยเท่ากับ 4.87 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ และหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ และ 3) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า 3.1) นักเรียนมีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3.2) นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 81.70 และ 3.3) นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68

Article Details

How to Cite
เตชะวัฒนศิริดำรง ว. (2024). การพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมอาชีพในชุมชนผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น “การแทงหยวก” สำหรับนักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 35(3), 88–100. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/265391
บท
บทความวิจัย

References

Amphot, K. (2022). Curriculum and Training Program Creation. Training materials for the Training Management course. National Institute of Development Administration. [in Thai] Cheevasaro, D. (2017). Banana stick pattern made by craftsmen in the Songkhla lake basin.

Faculty of Fine and Applied Arts Thaksin University.Ministry of Education. (2017). Providing Teaching and Learning of local Wisdom at the Primary and Secondary Levels. Teachers Council Lepro Printing House. [in Thai]

Office of the Secretariat of the Council of Education. (2022). Guidelines for bringing Thai wisdom into non-formal and informal learning processes. Thailand Agricultural Cooperative Assembly Printing House. [in Thai]

Oliva, P. F. (2009). Developing the Curriculum. (7th ed.). Allyn & Bacon.

Panich, B. (2016). Communication for Transmission of the Local Wisdom “Tang-Yuak”. Journal of Siamese Communication Review, 16(20), 7-22. [in Thai]

Pongthong, P. & Chamchuen, W. (2009). The art of stinging jade and conservation guidelines. A case study of the Chang Tang Yuak family Phetchaburi Province. [Master’ thesis, Silpakorn University]. [in Thai]

Ritjaroon, P. (2017). Curriculum evaluation: process concepts and use of evaluation results. Journal of Education, Thammasat University, 8(1), 13-28. [in Thai]

Royal Academy. (2019). Dictionary of contemporary educational terms. Royal Institute edition. Office of the Royal Institute. [in Thai]

Seefa, W. & Whangmahaphorn, P. (2021). The Knowledge Management of the Local Wisdom on the Art of Banana Trunk Carving in Schools under the Secondary Educational Service of Area Office 10 Phetchaburi Province. Journal of Humanities and Social Sciences Review (JHSSR), 23(2), 208-225. [in Thai]

Silpsap, S. (2020). Development of a betting training curriculum for youth. Silpakorn University. [in Thai]

Srisaat, B. (2017). Preliminary research. (10th ed). Suweeriyasan.

Suwannachang, R. & Sirinupong, P. (2017). Promoting the local Profession in Phetchaburi on the art of tang yuak training of Phetchaburi Vocational College. Journal of Education and Human Development Sciences, 1(2), 81-92. [in Thai]

Taweerat, P. (2017). Research methods in behavioral and social sciences. (7th ed). Bureau of Educational and Psychological Testing, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Tuckman, B. W. (1999). Conducting Educational Research. Harcourt Bruce & Company.

Yingbun, S., Khumkhong, T. & Chawianghong, B. (2018). A Development of a Training Curriculum Entitled, “Creating Products from Lotus Flowers,” for Lower Secondary. Students, .Suphanburi College of Dramatic Arts. Journal Thepsatri Rajabhat University, 2(1), 80-92. [in Thai]