แนวทางการส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับภาคการทำงาน

Main Article Content

เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
ดวงกมล บางชวด
ภัทร ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่่อง "แนวทางการส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกับภาคการทำงาน" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิตในจังหวัดที่เป็นกรณีศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคการทำงานในจังหวัดกรณีศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคการทำงาน ขอบเขตการศึกษา คือ ศึกษาระบบธนาคารหน่วยกิตในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ การวิจัยเอกสาร และการประชุมระดมความคิด ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบธนาคารหน่วยกิตจังหวัดที่เป็นกรณีศึกษา คือ สุโขทัย อุทัยธานี และศรีสะเกษ ใช้ระบบทวิศึกษา ส่วนสตูลมีการนำประสบการณ์ทำงานมาเทียบโอนหน่วยกิต 2) ปัจจัยที่ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิตกับภาคการทำงาน แบ่งเป็นปัจจัยในพื้นที่ ได้แก่ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีการบูรณาการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ มีกลไกการทำงานที่เป็นระบบ ปัจจัยนอกพื้นที่ ได้แก่ มีหน่วยงานกลางระดับกระทรวงวางระบบและขับเคลื่อนการทำงานในระดับประเทศ จัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ มีระบบการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และ 3) แนวทางส่งเสริมระบบ
ธนาคารหน่วยกิต คือ มีนโยบายและแผนการทำงาน มีการสื่อสารการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ คือ 1) นำผลการวิจัยไปใช้เป็นโครงการนำร่องกับจังหวัดที่มีความพร้อม โดยมีการติดตามผล และปรับปรุงการดำเนินงานเป็นระยะ 2) มีหน่วยงานระดับกระทรวงเป็นแหล่งข้อมูล ประสานงานสนับสนุนทรัพยากรให้กับจังหวัดนำร่อง และนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

American Council on Education. (2015). Credit for prior learning-charting institutional practice for sustainability. https://www.acenet.edu/Documents/Credit-for-Prior-Learning-Charting-Institutional-Practice-for-Sustainability.pdf

Chitrotchanarak, R. (2022). Future generations must be 2.2 times more skilled than us. support using a credit bank to develop the workforce. https://www.eef.or.th/news-200422/

Education Sandbox. (2019). Know sanbox. https://www.edusandbox.com/video-educationalinnovation/

Ministry of Education. (2002). National education act b.e. 2542 (1999) And amendments (second national education act b.e. 2545 (2002). http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/law%20edu%202545.pdf

National Education Act B.E. 2542. (1999). And Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Royal Gazette. 119 (Episode 123A). 16-21.

Office of the National Education. (2015). Research report on the development approach of the credit banksSystem for basic education level. 21 Century.

Office of the National Education. (2016). Improving and enhancing student education quality using the credit Bank system at the basic education level. Prinkwarn Graphic.

Office of the National Education. (2017). Revised national qualifications framework. https://tqf.hu.ac.th/File/GetFile/224

Office of the National Education. (2020). Study of the credit transfer and credit bank system: basic education level. Prinkwarn Graphic.

Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council (2022). National credit bank. https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/infographic/7374-650520general.html

UNESCO Institute of Lifelong Learning. (2014). Republic of korea case study: World of work lifelong account system. https://uil.unesco.org/fileadmin/keydocuments/LifelongLearning/en/KoreaCaseStudy2WorldOfWorkLifelongLearningAccountSystem.pdf