การพัฒนาการคิดเชิงสถิติโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลาม วิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามด้วยเนื้อหาคำสอนหรือบริบทอิสลามคือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาหรือปรับปรุงผลการเรียนรู้ของนักเรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการคิดเชิงสถิติโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา
อิสลาม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังคมอิสลามวิทยาจังหวัดสงขลาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 167 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 55 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 56 คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 56 คนโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) ครอบคลุมการคิดเชิงสถิติ 4 องค์ประกอบ
ได้แก่ การบรรยายลักษณะข้อมูล การจัดการลดรูปข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์แปลผลข้อมูล จำนวน 3 ฉบับ แบ่งตามระดับชั้น ดังนี้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีคุณภาพของแผนการจัดการ
เรียนรู้ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.6–5.0 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงสถิติชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ครอบคลุมการคิดเชิงสถิติ 4 องค์ประกอบ ๆ ละ 2 ข้อ โดยใช้รูปแบบอัตนัยจำนวน 3 ฉบับแบ่งตามระดับชั้น โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85, .72 และ .84 ตามลำดับ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามแบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ ด้านการคิดเชิงสถิติ ด้านการบูรณาการอิสลาม ด้านเนื้อหารายวิชาและด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความพึงพอใจในภาพรวม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจเท่ากับ .87 การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบค่าเฉลี่ย 1 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีการคิดเชิงสถิติทั้ั้ง 4 องค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นการคิดเชิงสถิติในองค์ประกอบการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่านั้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอิสลามวิชาคณิตศาสตร์ (สาระสถิติ) ที่ระดับความพึงพอใจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ควรเสริมกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
บูรณาการอิสลามโดยเน้นองค์ประกอบการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลและการบรรยายลักษณะข้อมูล เนื่องจากนักเรียนมีค่าเฉลี่ยของการคิดเชิงสถิติในสององค์ประกอบดังกล่าวต่ำกว่าอีกสององค์ประกอบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Baba, S. B., Salleh, M. J., Zayed, T. M., & Harris, R. (2015). A Qur’anic Methodology for Integrating Knowledge and Education: Implications for Malaysia’s Islamic Education Strategy. The American Journal of Islamic Social Sciences, 32(2), 1-27.
Fuad, N. M., Zubaidah, S., Mahanal, S., & Suarsini, E. (2017). Improving Junior High Schools' Critical Thinking Skills Based on Test Three Different Models of Learning. International Journal of Instruction, 10(1), 101-116.
Garfield, J., & Ben-Zvi, D. (2009). The Challenge of Developing Statistical Literacy, Reasoning and Thinking. Statistical investigations in the secondary school. Cambridge University Press: Kluwer Academic.
Isnawati, D. (2012). Integration-Interconnection of Islamic Learning and General Learning in Second Grade Students at SDIT Sunan Averroes Yogyakarta. (Unpublished master’s thesis). UIN Sunan Kalijaga, Yogyakarta.
Jones, G. A., Thornton, C. A., Langrall, C. W., Mooney, E. S., Perry, B., & Putt, I. J. (2000). A framework for characterizing children's statistical thinking. Mathematical thinking and learning, 2(4), 269-307.
Khetchonprathan, P., & Noumnom, P. (2021). A Study on Statistical Knowledge and Statistical Thinking of Twelfth Grade Students in Schools under the Office of the Secondary Educational Service Area in Bangkok. An Online Journal of Education(OJED), 15(1), 1-11. [in Thai]
Kusaeri, L U Sadieda, T Indayati and M I Faizien. (2018). Developing an Assessment Instrument of Higher Order Thinking in Mathematics with in Islamic Context. Journal of Physics: Conference Series. Vol. 1097.
Lateh, A. (2022). A model for integrating Islamic values and local contexts into mathematics instruction for secondary students. ATTARBIYAH: Journal of Islamic Culture and Education, 7(2), 107-124.
Lohr, S. (2009). For today’s graduate, just one word: Statistics. The New York Times, http://www.nytimes.com
Lohwithee, W. (2018). Learning Activity for Islamic Integrated. Sheikhul Islam, http://www.skthai.org/index.php?lite=article&qid=42073689 [in Thai]
Mauluddiana, N. L. (2015). The Effect of Learning based on Mathematics-Al-Qur'an Interconnection Approach in the selected Verses with the Subject of Set on the Mathematics Learning Results of Class VII Students of MTs Al-Umron Bendosewu Blitar in the 2014/2015 academic Year. (Unpublished master’s thesis). Fakultas Tarbiyah dan Ilmu Pendidikan IA Tulungagung.
Mooney, E. S. (2002). A framework for characterizing middle school students' statistical thinking. Mathematical Thinking and Learning, 4(1), 23-63.
Noll, J. (2011). Graduate Teaching Assistants’ Statistical Content Knowledge of Sampling. Statistics Education Research Journal, 10(2), 48-74.
Novak, J. D. (2002). Meaningful learning: The essential factor for conceptual change in limited or inappropriate propositional hierarchies leading to empowerment of learners. Science education, 86(4), 548-571.
Palee, P., & Kamol, N. (2021). A Classroom Action Research for Promoting Statistical Thinking of Grade 7 Students by Using the Five Practices. Journal of Education Research, 15(2), 105-117. [in Thai]
Purwati, N., Zubaidah, S., Corebima, A. D., & Mahanal, S. (2018). Increasing Islamic Junior High School Students Learning Outcomes through Integration of Science Learning and Islamic Values. International Journal of Instruction, 11(4), 841-854.
Putri, R. I. I., & Aisyah, N. (2020). Learning Integers with Realistic Mathematics Education Approach Based on Islamic Values. Journal on Mathematics Education, 11(3), 363-384.
Rohim, A. (2010). The Efforts to Improve the Students’ Mathematics Learning Motivation withMathematics-Islam Integration Approach through Cooperative Learning Model of STAD (Case Study in Science Class XI MA Nahdhatul Muslim Undaan Kudus). (Unpublished
doctoral dissertation). UIN Sunan Kalijaga, Yogyakarta.
Rustham, N. & Arifin, M.A.A.R. (2012). Teaching Methodologies in a Weekend Madrasah: A Study at Jamiyah Education Centre, Singapore. International Journal of Arts and Commerce, 1(2), 148-167.
Snee, R. D. (1990). Statistical Thinking and Its Contribution to Total Quality. The American Statistician, 44(2), 116-121.
Thalangka, N. (2016). Using Problem-based Learning to Promote Statistical Thinking of Mathayom Suksa 3 Students, Thoengwittayakhom School, Chiang Rai Province. [Master’s thesis, Chiang Mai university]. [in Thai].
Wild, C. J., & Pfannkuch, M. (1999). Statistical thinking in empirical enquiry. International Statistical Review, 67(3), 223–248.
Zubaidah, S., Mahanal, S & Yuliati, L. (2013). Ragam Model Pembelajaran IPA Sekolah Dasar [Various Science Learning Models of Elementary Schools]. Teacher Quality Improvement Program (TEQIP). State University of Malang.