การพัฒนาทักษะการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท

Main Article Content

ลลิตา เพชรแท้
กรกนก ด้วงสีเกาะ
นพรัฐ เสน่ห์
นิลุบล เกตุแก้ว
รัชนี พิชญานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท 9 แผน (9 คาบ) แบบวัดทักษะการแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ) แบบทดสอบอัตนัย ก่อนและหลังเรียน จำนวน 1 ข้อ แบบบันทึกคะแนนทักษะการแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ) ของนักเรียน และเกณฑ์การประเมินทักษะการแต่งบทร้อยกรอง (กลอนสุภาพ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired-samples
t test) ในการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบทมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.88 คะแนน จาก 16 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.71 คะแนนทดสอบหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบทมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.23 คะแนน จาก 16 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.68 ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบทสรุปได้ว่า ผลการทดสอบวัดทักษะการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา หลังการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสหบท สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยนักเรียนมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 41.23 อยู่ในระดับกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bloom, H. (1983). The anxiety of influence: The theory of poetry. Oxford University Press.

Chaimano, B. (2006). Poetry Writing. Kasetsart University Press. [in Thai]

Ketprathum, W. (2007). Characteristics of Thai Poetry. Pattana Suksa Publishing. [in Thai]

Makjui, A. (2010). Development Of An Instructional Model Based On Intertextuality Theory To Enhance Thai Creative Writing Of Undergraduate Students. [Master’s thesis, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). [in Thai]

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Kurusapa Ladprao Publishing. [in Thai]

Noinuay, P. & Satjapiboon, S. (2014). The Effect of Instruction Based on Intertextuality Towords Creative Poetry Writing for Grade Twelve Student. Journal of Education and Social Development, 10(1). 261-272. [in Thai]

Pohtong, K. (2014). Development of an instructional model based on transtextuality theory to enhance creative reading and creative writing ability of Undergraduate students. [Master’s thesis, Silpakorn University, Sanam Chandra Palace Campus]. [in Thai]

Royal Institute. (2013). Dictionary, Royal Institute Edition, 2011. (2nd ed). Nanmebooks Company Limited. [in Thai]

Tiacharoen, C. (2021). Effects of Instruction Based on Intertextuality Theory on Poetic Writing Abilities of Lower Secondary School Student. [Master’s thesis, Chulalongkorn University].Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). [in Thai]