การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ โดยการใช้แอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

นัจวา ปุเต๊ะ
นพรัฐ เสน่ห์
นิสานาถ สงรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่อง เห็นแก่ลูก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H  เรื่อง เห็นแก่ลูก ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ต และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีภูเก็ต ที่มีต่อบทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่อง เห็นแก่ลูก การวิจัยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยวัดผลแบบก่อนและหลังเรียน  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)แผนการจัดการเรียนรู้ บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite ร่วมกับวิธีการอ่านจับใจความสำคัญแบบ 5 W 1 H เรื่องเห็นแก่ลูก (2) บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite เรื่อง เห็นแก่ลูก จำนวน 4 ตอน (3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ (4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อบทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า T-test  และค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80


ผลการวิจัยพบว่า (1) บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite เรื่อง เห็นแก่ลูก ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิ์ภาพเท่ากับ 67.2/89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้บทสนทนาสำเร็จรูปผ่านแอปพลิเคชัน ReadAWrite เรื่อง เห็นแก่ลูก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ย 14.4 คะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 83 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยการใช้นวัตกรรมมีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( M = 4.66 และ S.D.= 0.13)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonnarong, G. (2011). A comparison of reading comprehension achievement of Prathomsuksa six students taught by using technique KWL and conventional method. Department of Curriculum and Instruction Graduate School, Silpakorn University.

Chamnian, M. and Chamnian, K. (2018). Benefit, Problems and Solutions of Using Online Media in Studies with Efficiency in Schools, Nakhon Si Thammarat Province. Nahkon Si Thammarat: Communication Arts Department, Faculty of Management Sciences, Nahkon Si Thammarat Rajabhat University. [in Thai]

Fitz - Gibbon & Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Sage.

Joyce, B. & Well, M. (1986). Model of Teaching. Prentice-Hall.

Khammanee, T. (2010). The Science of Teaching: Knowledge for Organising Effective Learning Process. Publisher of Chulalongkorn University. [in Thai]

Khattiyamarn, W. & Wirathammo, A. (2006). Teaching for Development thinking. Tem Publication. 85-86. [in Thai]

Kittisak, B. (1994). The reading and reviewing books. Thai wattanapanich Publishing. [in Thai]

Klimova, B. and Zamborova, K. (2020). Use of Mobile Applications in Developing Reading Comprehension in Second Language Acquisition—A Review Study. Education Sciences. Basel, Switzerland, 5.

Law, Y. (2011). The role of teachers' cognitive support in motivating young Hong Kong Chinese children to read and enhancing reading comprehension. Teaching and Teacher Education.

Mansettawit, S. (1997). Study of reading and writing achievement of fifth grade students using the transformation of folktales in Yala and Pattanee Provinces. Silpakorn University. [in Thai]

Mullis, I. V. S. et al. (2012). PIRLS 2011 international results in reading. TIMSS & PIRLS International Study Center.

Promla, P. & Krootjohn, S. (2020). The Effects of Using Chatbots in Blended Learning for Vocational Certificate Students in Colleges Under the Institute of Vocational Education Northeastern region 1. Department of Computer Education, Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. [in Thai]

Promma, N. (2021). The Development of Thai literature achievement of Mathayomsuksa 3 students by using Think-Pair-Share technique. Department of Curriculum and Instruction Graduate School, Silpakorn University. [in Thai]

Ruddell, R. B.(2002). Teaching children to read and write: Become and effective literacy Teacher. Allyn and Bacon.

Schonell, F.J. & Goodacre. E.J. (1974), The psychology and teaching of reading. Oliver & Boyd.

Uthai, P. (2015). Network media Online for learning and teaching. DRURDI Research for Community Service Journals, 72. [in Thai]