การวิเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครูดนตรี ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ต้องการวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครูดนตรีระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทภาคเหนือ สร้างและหาคุณภาพแบบวัดสมรรถนะครูดนตรีระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทภาคเหนือ กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญใช้ตรวจสอบความเที่ยงตรง 9 คน กลุ่มที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบสอบถามพฤติกรรมบ่งชี้
สมรรถนะครูดนตรี 101 คน กลุ่มที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ 841 คน และกลุ่มที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบวัดสมรรถนะครู 150 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามพฤติกรรมบ่งชี้สมรรถนะครูดนตรีจำนวน 61 ข้อ มีค่า t = 7.30 – 18.20 โดยค่า t ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าความเชื่อมั่น = .992 และแบบวัดสมรรถนะครูดนตรีสำหรับนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมี 30 ข้อ สถิติที่ใช้คือค่า IOC การทดสอบ t ค่า α และการวิเคราะห์ Factor Analysis
ผลวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะครูดนตรีมี 3 องค์ประกอบคือ การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ในวิชาดนตรี การออกแบบและจัดการชั้นเรียนในการเรียนวิชาดนตรีเพื่อตอบสนองความต่างของผู้เรียน และการเล่นดนตรีและการมีความรู้พื้นฐานด้านดนตรีและที่เกี่ยวข้อง 2) แบบวัดสมรรถนะครูดนตรีฯ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC= .89 - 1.00 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ = .615 - .773 มีค่า t = 14.25 – 23.15 ทุกข้อมีนัยสำคัญทางสถิติ และความเชื่อมั่น = .986
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
Bunyanan, K. & Hongsiriwat, A. (2020). Guidelines for the development of the Bachelor of Education Program in Music Education of Rajabhat University. Krupibul Journal, 7(2). [in Thai]
Chanwongpaisan, P. (2006). In-depth Competency Search and Analysis. HR Center. [in Thai]
Dechakup, P. & Khuenkan, P. (2008). Teacher Competency Research Report and Teacher Development Guidelines in a Changing Society. Prikwan Graphic. [in Thai]
Kongkasawat, T. (2007). Practical Competency; How do they do it?. (4th ed.). TPA. [in Thai]
Office of the Education Council Secretariat. (2018). The development of a mechanism to drive the production system and develop high-performance teachers for Thailand 4.0. Prikwan Graphic. [in Thai]
Phosrithong, A. (2019). Visual future of music teacher attributes in the next decade (2018-2014). Journal of Educational Research, Faculty of Education, Srinakharinwirot University. 14(1). [in Thai]
Rassameethammachot, S. (2006). Guidelines for Human Potential Development with Competency. (3rd ed.). SiriwattanaInterprint Public Company Limited. [in Thai]
Sirimai, K. & et al. (2021). Research Project of the Institute for Development of Competency System for Human Resource Management under Rajamangala University of T echnology Phra Nakhon. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. https://competency.rmutp.ac.th/components-of-a-competency-model [in Thai]
Thienput, D. (2007). On competency. (3rd ed.). A.R. Information and Publication. [in Thai]
Thongkaew, T. (2007). Competency: Principles and Practices. Bangkok: Suan Dusit University. [in Thai]