ศิลปะ: แนวคิดสตรีมศึกษาในทักษะศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สุปราณี ชมจุมจัง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงการนำศิลปะและแนวคิดสตรีมศึกษา (STEAM Education) มาประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องและเตรียมพร้อมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งการนำรูปแบบการเรียนการสอน การบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันนั้น อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเป็นการบูรณาการ 4 วิชาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา จนเกิดทักษะในการแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ การเรียนรู้จากการลงมือทำในการทำงานและการดำเนินชีวิต ในศตวรรษที่ 21 จึงมีการนำการเรียนการสอนศิลปะเข้ามาบูรณาการ โดยมีลักษณะการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนและวิธีการเริ่มต้นจากกำหนดปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดค้น การค้นหาคำตอบแสวงหาเหตุและผลในการแก้ปัญหา การลงมือสร้างสรรค์ผลงานหรือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือวิธีในการแก้ประเด็นปัญหาที่ตั้งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับช่วงวัยและพัฒนาการของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การตั้งคำถาม
การค้นหาเหตุผล และเข้าใจซึ่งคำตอบผ่านการปฏิบัติกิจกรรมกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อให้ผู้เรียนรู้ พัฒนาความสามารถทางด้านทักษะและเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำรงชีวิตในปัจจุบันและความท้าทายต่อโลกในอนาคต ซึ่งอาชีพในปัจจุบันพบว่ามีความหลากหลายและเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ได้นั้น การมีทักษะที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี (Information, Media, and Technology Skills) และทักษะชีวิตและ
การทำงาน (Life and Career Skills) จึงเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนและประเทศในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Baek, H., Schwarz, C., Chen, J., Hokayem, H., & Zhan, L. (2011). Engaging elementary students in scientific modeling: The MoDeLS fifth-grade approach and findings. In Models and modeling (pp. 195-218). Springer.

Janklin, N. (2014). Problems and approaches to quality management in development. Phitsanulok Primary School District 2. [Master of Education. Phibunsongkorm Rajabhat University].

Jarasaraweewat, S. (2017). Integrated learning management in Thailand 4.0 era according to the concept STEM, STEAM, and STREAM. Journal of Education and Social Development, 13(1), 19-30. [In Thai]

Panich, W. (2009). A Cognitive Study on Desirable Characteristics of Thai People: Intellectual Intelligence. Bangkok: Office of the Education Council Secretariat.

Ratanasuwan, D. (2016). Vocational Education Policy. Wisdom 30 2017. http://www.reo16.edweb.in.th/gis/eoffice/57000001tbl_datagovform/20160621085822qDvMyNn.pdf

Yakman, G. (2008). Stem Education: an overview of creative of integrative education. http://steamedu.com/