ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายต่อการพัฒนาความเข้าใจและเจตคติของนิสิตสู่การให้บริการและถ่ายโอนความรู้ทางเทคนิคการแพทย์แก่ชุมชน

Main Article Content

สุภาพร ขำจันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อประเมินผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายในการส่งผลต่อการพัฒนาความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาและเจตคติที่มีต่อรายวิชาของนิสิตผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อประยุกต์ความรู้ดังกล่าวสำหรับการให้บริการและถ่ายโอนความรู้ทางเทคนิคการแพทย์ให้กับชุมชน รวมถึงเพื่อประเมินความรู้ของแกนนำสุขภาพชุมชนที่เกิดจากการถ่ายโอนความรู้ดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในรายวิชาเทคนิคการแพทย์ชุมชน โดยกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาประกอบด้วยการสอนภาคบรรยาย การดูวีดีโอตัวอย่างในปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเทคนิคการแพทย์ที่มีประสบการณ์ การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้นิสิตคิดวิเคราะห์รูปแบบการออกปฏิบัติด้วยวิธีการทางเทคนิคการแพทย์จากปัญหาของชุมชนผ่านการทำกิจกรรมกลุ่ม จากนั้นจึงทำการประเมินความเข้าใจและเจตคติในประเด็นต่าง ๆ ที่มีต่อรายวิชาซึ่งเกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ในแต่ละหัวข้อการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทำกิจกรรมการเรียนการสอนทุก ๆ กิจกรรม สามารถส่งผลให้นิสิตเทคนิคการแพทย์มีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (*p<0.05) ในประเด็นความสำคัญของเทคนิคการแพทย์ชุมชน บทบาทของนักเทคนิคการแพทย์ต่อการให้บริการสุขภาพชุมชน วิธีการดำเนินการให้บริการสุขภาพชุมชน และการนำความรู้ทางเทคนิคการแพทย์ไปใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน รวมถึงส่งผลให้นิสิตมีเจตคตีที่ดีขึ้นต่อการได้เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน เมื่อเปรียบเทียบกับตอนก่อนที่นิสิตจะทำกิจกรรมการเรียนการสอนดังกล่าว อีกทั้ง เมื่อนิสิตนำเอาความเข้าใจและเจตคติที่ดีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการออกปฏิบัติด้วยวิธีทางเทคนิคการแพทย์ในพื้นที่จริง และการถ่ายโอนความรู้ในผลการตรวจที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการแพทย์ให้กับแกนนำสุขภาพชุมชนที่เข้ารับบริการในพื้นที่ อ.แม่ใจ จ.พะเยา พบว่า แกนนำสุขภาพชุมชนที่เข้าร่วมมีความรู้ในวิธีการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ถูกต้อง การตรวจทางเทคนิคการแพทย์เบื้องต้น รวมถึงผลการตรวจและความรู้ทางสุขภาพทั่วไปเป็นจำนวนถึงร้อยละ 80 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายในรายวิชา สามารถส่งผลให้นิสิต
ออกปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alexander, J.A., Comfort, M.E., Weiner, B.J., & Bogue R. (2001). Leadership in Collaborative Community Health Partnerships. Nonprofit Management and Leadership, 12(2), 159-175.

Chaikoolvatana, C., Jaimalai, W., & Sutti, P. (2016). Factor Predicting Health Behavior in Group of Pre-Diabetes, Phayao Province. Journal of Nursing and Health Care, 34(4), 115-122. (in Thai)

Cutamora, E.B., Cortes, K.C., & Pepito, J.A. (2022). Are Medical Technologists still needed in Medical Laboratories in a Technologically Advanced Future?, The Asian Institute of Research Journal of Health and Medical Sciences, 5(3), 56-65.

Duangchant, S. (2018). Implementing A Knowledge Transfer Process of Knowledge Management For Learner's Knowledge Transfer. Vocational Education Innovation and Research Journal, 2(1), 1-8. (in Thai)

Grossman, P., Hammerness, K., & McDonald, M. (2009). Redefining teaching, reimagining teacher education. Teachers and Teaching: theory and practice, 15(2), 273-289.

Korpershoek, H., Harms, T., De Boer, H., Van Kuijk, M., & Doolaard, S. (2016). A meta-analysis of the effects of classroom management strategies and classroom management programs on students’ academic, behavioral, emotional, and motivational outcomes. Review of Educational Research, 86(3), 643-680.

Melles, G., Anderson, N., Barrett, T., & Thompson-Whiteside, S. (2015). Problem Finding through Design Thinking in Education. Inquiry-Based Learning for Multidisciplinary Programs: A Conceptual and Practical Resource for Educators. Innovations in Higher Education Teaching and Learning, 3, 191-209.

Murray, B., Judge, D., Morris, T., & Opsahl, A. (2019). Interprofessional education: A disaster response simulation activity for military medics, nursing, & paramedic science students. Nurse education in practice, 39, 67-72.

Noor, N.A.M., Saim, N.M., Alias, R., & Rosli, S.H. (2020). Students' Performance on Cognitive, Psychomotor and Affective Domain in the Course Outcome for Embedded Course. Universal Journal of Educational Research, 8(8), 3469-3474.

Owston, R., York, D. N., & Malhotra, T. (2019). Blended learning in large enrolment courses: Student perceptions across four different instructional models. Australasian Journal of Educational Technology, 35(5), 29-45.

Practice of The Medical Technology Act, B.E. 2547 (2004). Thai Government Gazette, 33-73. (in Thai)

Porter, W., Graham, C. R., Bodily, R. G., & Sandberg, D. S. (2016). A qualitative analysis of institutional drivers and barriers to blended learning adoption in higher education. The internet and Higher education, 28, 17-27.

Pummanee, T., Suwannawat, J., Buatchum, K., Nukaew, O., Suwanchinda, P., & Worrasirinara P. (2023). Effect of Instructional Video for Mental Status Examination Collaborate with Case-Based Learning on Knowledge, Self-efficacy, and Satisfaction in Psychiatric Practice among Undergraduate Nursing Students. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences, 43(1), 67-79. (in Thai)

Rungswang, P., Ngudgartoke, S., Prommapun, B., & Subsombat, W. (2013). Development of an Evaluation Model for Authentic Assessment of Upper Secondary Students. Journal of education Khon Kaen University, 36(2), 64-73. (in Thai)

Wangsrikun, A. (2014). Humanities and Social Sciences. Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 8(1), 1–17. (in Thai)

Ucharattana, P., Augmekiat, T., Khanta, A., & Limpongsathorn, T. (2012). Effect of Clinical Teaching Methods Using Portfolio and Knowledge Market on Self-directed Learning of Students in Program of Nursing Specialty in Nursing Management. J Nurs Sci, 30(4), 18-27. (in Thai)