การเปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังของนักศึกษา ต่อบริการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมระหว่างมหาวิทยาลัยคู่เทียบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจและความคาดหวังของนักศึกษาต่อบริการระหว่างมหาวิทยาลัยคู่เทียบ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังของนักศึกษาต่อบริการตามระดับการศึกษา
ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563
จำนวน 957 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 623 คน ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก จำนวน 334 คน
ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ และเทียบสัดส่วนตามสัดส่วนของประชากร เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม หาค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยใช้ค่า
IOC และหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha coefficient) ระดับความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับด้านความพึงพอใจต่อด้านบริการฯ เท่ากับ 0.99 อยู่ในระดับดีมาก จากนั้น
นำแบบสอบถามไปใช้กับนักศึกษาทั้งสามมหาวิทยาลัย และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน One-way Anovaและ T-test Independent
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจและความคาดหวังต่อบริการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมจำแนกตามระดับการศึกษาความพึงพอใจมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ 0.01 และความคาดหวัง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามสถาบันความพึงพอใจด้านบริการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความคาดหวังด้านบริการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสภาพแวดล้อม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
Aromrat, C. (2004). Students’ Satisfaction on Service Performance of Faculty of Eng ineering. [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University]. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/159394
Ekakul, T. (2000). Research Methods in Behavioral and Social Sciences. UbonRatchathani Rajabhat University https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/download/148274/156039/
Kimsai, K. (2020). Students’ Satisfaction on Service Performance of Faculty of Eng ineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Office of the Higher Education Commission. (2021). Educational Quality Criteria for Excellence (2020-2023 Edition). Amarin.
Srisatidnarakul, B. (2012). Development and Quality Inspection of Research Tools: Psychological Measurement Features. Chulalongkorn University
Wanichwasin, S. (2019). Moving Toward High Performance Organization of the Office of NBTC through Thailand Quality Award. National Broadcasting and Telecommunications Commission Journal, 3(3), 194 - 217.
Taweerut, P. (1997). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. 7th Bureau of Educational and Psychological Testing, Srinakharinwirot University Prasanmitr campus.