กระบวนการเสริมศักยภาพนักศึกษาครูสาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือสู่คุณลักษณะความเป็นครูสอนภาษาจีนที่เข้มแข็ง

Main Article Content

บัณศิกาญจ ตั้งภากรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากระบวนการเสริมศักยภาพนักศึกษาครูสาขาภาษาจีนสู่คุณลักษณะความเป็นครูสอนภาษาจีนที่เข้มแข็ง โดยแบ่งการดำเนินงานวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของคุณลักษณะความเป็นครูสอนภาษาจีนที่เข้มแข็งสำหรับนักศึกษาครูสาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 125 คน และ 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของกระบวนการเสริมศักยภาพฯ โดยประเมินคุณภาพของกระบวนการที่พัฒนาขึ้นจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน และกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาศักยภาพฯ เป็นนักศึกษาครูสาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 3 จำนวน 45 คนที่ได้มาแบบอาสาสมัคร การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตbพรรณนา ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (Analytic Induction) และสถิติอ้างอิง t-test แบบ one sample test


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาครูสาขาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือในปัจจุบันควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพคุณลักษณะด้านความรอบรู้มากที่สุด 2) กระบวนการเสริมศักยภาพฯ ได้พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่คำนึงถึงศักยภาพตามช่วงวัยของนักศึกษา ได้แก่ หลักสูตร “รอบรู้ทางจีน” สำหรับชั้นปีที่ 1 ส่วนหลักสูตร “รู้คิดเชิงสร้างสรรค์” สำหรับชั้นปีที่ 2 และหลักสูตร “การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ” สำหรับชั้นปีที่ 3 โดยแต่ละหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และ 3) นักศึกษาครูสาขาภาษาจีนกลุ่มที่ทดลองกระบวนการเสริมศักยภาพฯ มีความรู้ทางจีน เกิดทักษะกาiรู้คิดเชิงสร้างสรรค์ และเกิดทักษะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Budnampetch, N. (2019). The Professional Development of Chinese Teachers in Thailand according to the Teacher of Chinese to Speakers of other Languages of Hanban’s Standard Framework. Journal of Social Sciences Walailak University, 12(2), 298-320. [in Thai]

Chomsky, N. (1965). Aspects of the theory of syntax. Cambridge: MIT Press.

Coyle, D., Hood, P., & Marsh, D. (2010). CLIL: Content: Content and Language Integrated Learning. Cambridge: Cambridge University Press.

Danielson, C. (2007). Enhancing professional practice: A framework for teaching. (2nd ed). https://csuepress.columbusstate.edu/

DuFour, R., & Eaker, R. (2008). Revisiting Professional Learning Communities at Work. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Koh, J. H., & Divaharan, H. (2011). Developing pre-service teachers’ technology integration expertise through the TPACK-developing instructional model. Journal of Educational Computing Reaearch, 44(1), 35-58.

Kristmanson, P. L., Lafargue, C., & Culligan, K. (2012). From action to insight a professional learning community’s experiences with the European Language Portfolio. Canadian Journal of Applied Linguistics/Revue Canadienne de linguistique appliquée, 14(2), 53-67.

Laohajaratsang, T. (n.d.). Learning in the Next Era: From, The Future Thai Teachers C-Teachers. http://sornorinno.blogspot.com/ [ in Thai]

Office of Social Promotion of Learning and Youth Quality. (2014). Raising the Quality of Thai Teachers in the 21st Century. Documents for Academic Conferences “Apiwat Learning Towards Thailand Turning Point” Between 6-8 days May 2014. https://www.dpu.ac.th/ [in Thai]

Office of the President of Rajabhat University. (2018). The New Strategies of Rajabhat University for Local Development According to Royal Policy Within 20 Years (2017- 2036). http://rdi. bru.ac.th/ [in Thai]

Panditsewee, C., Jarupanya, P., Chantanee, A., Changcharoen, C. & Jeansut, R. (2021). Educational Psychology. SSRU Journal of Public Adminstration, 4(2), 70-82. [in Thai]

Sinlarat, P. (2016). Thai Education 4.0: Creative and Productive Educational Philosophy. (3rd ed). Bangkok: Chulalongkorn Printing House University. [in Thai]

Srichandorn, A., Jansem, A. & Rattanawich, S. (2017). Effects of the Instruction Based on Content and Language Intergrated Learning (CLIL) Approach to Mattayom 2 Students’ Listening and Speaking Performance and Interest of Learning English. Journal of Education and Human Development Sciences, 1(2). 174-185. [in Thai]

Tangpakorn, B. (2020). Competence Development in Designing Chinese Instructional Packages of Students Majoring in Chinese Teaching Using a Creative and Productive Learning Model. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon University, 12(34), 21-31. [in Thai]

Tangpakorn, B. (2022). Development of Strength Characteristics of Chinese Language Teachers Indicators for Chinese Language Student Teachers at Northern Rajabhat University. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 28(1), 25-45. [in Thai]

Thorndike, E. L. (2015). Thorndike’s Connectionism Theory. https://www. krupatom.com/

Widdowson, H. G. (1990). Aspect of Language Teaching. Oxford: Oxford University Press.