ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่มีต่อการจัดการศึกษาไทย: การศึกษาทางเลือกคือทางหลักและทางรอดในการจัดระบบการศึกษาในอนาคต
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลกระทบทางบวกต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด–19 พบว่า สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนแผนและเป้าหมายในการจัดการศึกษา มีการปรับปรุงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้การจัดการเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น และมีการใช้วิธีการวัดประเมินผลใหม่ ๆ มากขึ้น ผู้บริหารพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการบริหาร ครูเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และครูเปลี่ยนวิธีสอน วิธีการวัดประเมินผลให้เหมาะสม นักเรียนมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น นักเรียนสามารถลดเวลา ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงเรียน ส่วนผลกระทบทางลบต่อระบบการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาพบว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไม่เพียงพอและสัญญาณไม่เสถียร สถานศึกษาส่วนมากไม่ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูลดลง เป็นภาระงานและกระทบต่อเวลาในการจัดการเรียนการสอน ครูมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ และผลการเรียนของนักเรียนจะตกต่ำลง ครูขาดขวัญกำลังใจในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการปฏิบัติน้อยลงและไม่สามารถทำกิจกรรมการเรียนร่วมกับเพื่อน และเสียโอกาสในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกและการเรียนจากการปฏิบัติจริง และผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้
การศึกษาทางเลือกถือเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากเป็นพิเศษ เน้นการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญกับอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม ความเชื่อ ความถนัด ความพร้อม และความสนใจ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม บริบทชุมชน ภูมิปัญญา องค์ความรู้และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ด้วย ผู้เรียนจึงมีโอกาสเรียนตามศักยภาพของตนเองอย่างแท้จริง ถือเป็นแนวทางสำคัญแนวทางหนึ่งที่เป็นทางออกของปัญหาทางการศึกษาของไทยได้ในอนาคตอันเนื่องมาจากการระบาดของ COVID-19 ที่ต้องใช้วิถีชีวิตแบบปกติใหม่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของไทยที่ผู้เรียนไม่สามารถไปเรียนในโรงเรียนปกติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
Chaiyaphan, M. (2018). Educational Administration on the Path of NewNormal. Journal of the Humanities and Social Sciences Suan Sunandha Rajabhat University. Year 4(1), 6-15 (January-June) (In Thaï)
Dictionary of educational terms Royal Institute Edition. (2012). (In Thaï)
Education Council Secretariat Ministry of Education. (2020). Report “ Online Learning in the Covid-19 Era: Crisis or Opportunity for Thai Education ”. Bangkok: Bureau of Education Standards and Learning Development, Secretariat of the Education Council. Ministry of Education. (In Thaï)
Education Council Secretariat Ministry of Education. (2021). Study report on Learning management model for students in basic education affected by the situation of COVID - 19. Bangkok : Bureau of Education Standards and Learning Development, Secretariat of the Education Council Ministry of Education. (In Thaï)
Kittiwanno, A. and Chayasitthi, S. (2020). NEWNORMAL: Adaptation for education according to Buddhism. Mahachulalongkornrajavidyalaya University . Volume 7(9), 55-68. (In Thaï)
National Scientific Council on the Developing Child. (2010). early experiences can after gene expression and affect long term development: Working paper No.10. Center on the Developing Child at Harvard University. Retrieved from http://www.developingchild.net.
Hoff, E. (2003). The specificity of environmental influence: Socioeconomic status affects early vocabulary development via maternal speech. Child Development, 74, 1368-1378.
Inthasingh, S. (2016). Alternative Education: Curriculum and Instruction Focusing on Individual Differences. Journal Veridian E-Journal,Silpakorn University. 9 , 2 (May - August) : 1188 - 1206. (In Thaï)
Office of the Education Council Secretariat, Ministry of Education. (2015). Alternative Education Management in Thailand. Bangkok: V.T.C. Communication. (In Thaï)
Pathumcharoenwattana, W. (2011). Alternative Studies: A Challenging Approach in the Reform Era . Retrieved January 5, 2018, from portal.edu.chula.ac.th/nfed 1/ assets//Weerathep_choice.pdf. (In Thaï)
Schwab, K. (2016). The fourth industrial revolution. World Economic Forum.