การพัฒนาความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดชายแดนใต้ด้วยการเรียนรู้แบบลงมือทำร่วมกัน

Main Article Content

จุฑา ธรรมชาติ
คณิตา นิจจรัลกุล
บัณฑิต ดุลยรักษ์
บุษบรรณ เชิดเกียรติสกุล
สมนึก แก้วมีศรี

บทคัดย่อ

การเรียนรู้แบบลงมือทำร่วมกันกับการวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาพลเมืองดีให้แก่นักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนใต้ การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการสังเคราะห์กรอบแนวคิดคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี ออกแบบและจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีให้แก่นักเรียน ในการวิจัยมีกิจกรรมส่งเสริมนักเรียน 2 ส่วน คือ กิจกรรมสมุดพลเมืองดีและโครงการของโรงเรียน ในการวิจัยมีโรงเรียนอาสาสมัครเข้าร่วมวิจัยจำนวน 7 โรงเรียน คณะผู้วิจัยและครูร่วมวางแผน ออกแบบ จัดกิจกรรม ติดตามการพัฒนานักเรียน และสะท้อนผลร่วมกัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพสรุปได้ว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการรับรู้คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และรู้จักประพฤติตนอย่างเหมาะสมในฐานะพลเมืองคนหนึ่งในสังคม คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างเห็นได้ชัดคือการรู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Binkley, M. and et.al (2012). Defining twenty-first century skills. Assessment and teaching of 21st century skills, P. Griffin et al (eds). Springer.

Greenstein, L. (2012). Assessing 21st century skills: A guide to evaluating mastery and authentic learning. Sage.

Jarkiewicz, A. (2020). Using participatory action learning to empower the active citizenship of young people. Action Learning: Research and Practice, 17(1), 72–83. DOI: 10.1080/14767333.2020.1712846

Ministry of Education. (2011). Basic education core curriculum B.E.2551 (A.D.2008). (3rd ed). Printing press of the agricultural co-operative federation of Thailand, Ltd.

Niranthawee, S. (2005). Learning management for enhancing students to be good citizenships. Bangkok: Pimdeekanpim. [in Thai]

Nitjarunkul, K., Dulyaraksa, B., Tammachart, J., & Keawmeesri, S. (2017). An analysis of the state of education management to develop good citizenship to students of school in unrest area of southernmost provinces, Thailand. Journal of education, Prince of Songkla University, 28(3), 83–94. [in Thai]

Office of the education council. (2012). Policy and strategy in the educational quality development of international organization memberships. Bangkok: Prikwann Graphics. [in Thai]

Thewanarumitkul, P. (2009). Civic education: Develop Thai politics, construct human democracy. Bangkok: Thammasat University. [in Thai]

Westheimer,J. (2015). What kind of citizen?: Educating our children for the common good. Teacher College, Columbia University.

Westheimer,J. & Kahne, J. (2002). Educating the "Good" Citizen: The Politics of School-Based Civic Education Programs (ED474166). ERIC. http://files.eric.ed.gov/fulltext/ED474166.pdf

Westheimer,J. & Kahne, J. (2004). Educating the "good" citizen: The politics of school-based civic education programs. American Educational Research Journal, 41(2), 237–269.

Wood, L. (2020). Participatory action learning and action research: Theory, practice and process. Routledge.

Wright, D.E. (2015). Active learning: Social justice education and participatory action research. Routledge.

Zuber-Skerritt, O. (2018). An educational framework for participatory action learning and action research (PALAR). Educational Action Research, 26(4), 1–20. DOI: 10.1080/09650792.2018.1464939