แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ด้วยข้อมูลสะท้อนด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของบัณฑิตใหม่

Main Article Content

ปิยะพัฒน์ ช่วยอินทร์
สุภาพร เจริญสุข
โอษฐ์สุมา ชุมพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร. ศรีวิชัย) และสำรวจสภาพการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของบัณฑิตใหม่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบัณฑิตใหม่ของ มทร. ศรีวิชัย ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 580 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของ มทร. ศรีวิชัย จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ สื่อและสิ่งสนับสนุน ( =3.90) เนื้อหารายวิชา ( =3.89) อาจารย์ผู้สอน ( =3.85) และกิจกรรมการสอน ( =3.80) มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากจากมุมมองของบัณฑิตใหม่ และ (2) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานของบัณฑิตใหม่ ทั้ง 3 ทักษะ ได้แก่ การอ่าน ( =3.80) การเขียน ( =3.80) และการสนทนา ( =3.74) ก็อยู่ในระดับมากด้วย จากการจัดกลุ่มสาขาวิชาของบัณฑิตออกเป็น 8 กลุ่ม และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบค่าความแปรปรวน (one-way ANOVA) เพื่อหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจากระดับความเหมาะสมด้านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน และระดับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงานที่ได้จากบัณฑิตทั้ง 8 กลุ่มสาขาวิชา ผลการศึกษาค้นพบค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ระหว่างค่าเฉลี่ยของทั้งสองประเด็น ผลการวิจัยเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเสนอแนะได้ว่า การปรับปรุงรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของ มทร. ศรีวิชัย ครั้งต่อไป ควรพิจารณาให้มีทั้งกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและกลุ่มวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับบริบทการสื่อสารตามกลุ่มสาขาวิชาของผู้เรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทเฉพาะ และผลักดันการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัยให้มีกิจกรรมฝึกการสื่อสารที่สอดคล้องกับสาขาวิชาของผู้เรียนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลภู สันทะจักร์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2561). คุณลักษณะนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 71-789.

กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2559). การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรไทย: กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. สุทธิปริทัศน์, 30(93), 146-159.

จิรารัตน์ ประยูรวงษ์. (2562). DIGITAL LEARNING การเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 1 (1), 210-224

ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2559). เทคโนโลยีเพื่อการประเมินการเรียนรู้ภาษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 436-452.

ชลธิชา นางงาม. (2551). ปัญหาและอุปสรรคด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ 1 ของนักศึกษาและอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สารนิพนธ์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรัฐพล สุเภากิจ และเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร. (2561). แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย. สาระศาสตร์, 1, 23-35.

เพ็ญประภา เจริญสุข และอนุวัติ เจริญสุข. (2553). ภาษาอังกฤษกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw07.pdf

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ฝ่ายบริการการศึกษา. (2562). ตารางจัดกลุ่มย่อย เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2562. จาก https://eduserv.ku.ac.th//001/ISCED/ISCED-group.xls

หาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. กองนโยบายและแผน. (2561). แผนพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระยะปานกลาง 5 ปี พ.ศ. 2561 - 2565. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. ฝ่ายวิชาการ (2558). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2562. จาก https://reg.rmutsv.ac.th/course/file/course_development/Gen_Education_Course_2558.pdf

เยาวลักษณ์ ยิ้มอ่อน. (2557). การใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพของบัณฑิตไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 191-204.

ยุพาภรณ์ พิริยศิลป์ (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการเรียนภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(1), 37-56.

สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูต และธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(2), 175-186.

สาธิตา วัฒนโภคากุล. (2556). ความคิดเห็นของนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่มีต่อรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสัตวแพทย์ 1 ของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาษาปริทัศน์ 2556,18-41.

สาวิตรี ม่วงใหญ่ ไรลีย์ และบุษบา กนกศิลปธรรม. (2562). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และทักษะภาษาอังกฤษ: ไวยากรณ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(4), 1021-1038.

อดิศา เบญจรัตนานนท์. (2560). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษพื้นฐาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี: เสียงสะท้อนจากผู้เรียนและผู้สอน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 293-315.

อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ และฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 1-13.

Crystal, D. (2003). English as a global language. (2nd ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Dudley-Evans, T. & St. John, M.J. (1998). Developments in English for Specific Purposes: A multi-disciplinary approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Harmer, J. (2007). The Practice of English Language Teaching. (4th ed.). London: Longman

Hutchinson, T. & Walters, A. (1998). English for specific purposes: A learning-centered approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Soranastaporn, S. (2018). ESP in Thailand: Practical English Training for Professionals. Liberal Arts Journal, Mahidol University, 1(1), 7-28.

Stanley, G. (2013). Language Learning with Technology: Ideas for integrating Technology in the Classroom. Cambridge: Cambridge University Press.

Walker, A. & White, G. (2013). Technology Enhanced Language Learning: Connecting Theory and Practice. Oxford: Oxford University Press.

Yamane, T. (1976). Statisctic, An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.