การใช้แหล่งการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาครูเอกประถมศึกษา เพื่อการพัฒนาตนเองในการก้าวเข้าสู่วิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความสนใจส่วนบุคคลว่าต้องการเรียนรู้เรื่องใดเพิ่มเติม นอกจากได้รับความรู้แล้ว ทักษะต่าง ๆ รวมไปถึงคุณลักษณะและเจตคติอาจเป็นผลมาจากการใช้แหล่งการเรียนรู้นั้นด้วย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้แหล่งการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาครูเอกประถมศึกษาใน การพัฒนาตนเองเพื่อการก้าวเข้าสู่วิชาชีพครู 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้สำหรับนิสิตนักศึกษาครูเอกประถมศึกษาในการพัฒนาตนเองเพื่อการก้าวเข้าสู่วิชาชีพครู โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) คือ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ควบคู่กับการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตนักศึกษาครูเอกประถมศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 5 ในสถาบันการผลิตครูในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิต/นักศึกษาเอกประถมศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มสำหรับการตอบแบบสอบถาม และกลุ่มสำหรับการสนทนากลุ่ม ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบของร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากข้อเสนอแนะในแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า แหล่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองของนิสิตนักศึกษาครูเอกประถมศึกษาที่ใช้ในระดับมากที่สุด คือ แพลตฟอร์มทางการศึกษา ได้แก่ ยูทูบ โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่นิสิตนักศึกษาสามารถใช้พัฒนาตนเองในเกือบทุกด้าน แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้คือ ห้องสมุดยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ควรเน้นการลงพื้นที่จริงเพื่อจะได้พบกับวิทยากร ซึ่งถือเป็นแหล่งการเรียนรู้แบบบุคคลและควรมีการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
Amornwiwat, S. (2001). Learning process from the community and natural resources. Bangkok: Thai Watana Panich. [in Thai]
Abuhassna, H., Al-Rahmi, W.M., Yahya, N. et al. (2020). Development of a new Model on utilizing Online learning platforms to improve students’ academic achievements and satisfaction. Int J Educ Technol High Educ, 17, (38). Retrieved from https://doi.org/10.1186/s41239-020-00216-z
Benedek, A. (2013). New educational paradigm: 2.0: items of digital learning, In: Benedek A. (ed.) Digital Pedagogy 2.0. Budapest, Typotex, (pp. 312).
Bunsong, N. (2018). Social media of enhance 21st century education. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 2873-2885.
Ekakoon, T. (2000). Research methodology in behavioral sciences and social sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University. [in Thai]
Gingkaew, A. (2005). Instructional management by the variety use. Bangkok: Alfamillenium. [in Thai]
Gómez Zermeño, M. G., & Franco Gutiérrez, H. (2018). The use of educational platforms as teaching resource in mathematics. JOTSE: Journal of technology and science education, 8(1), 63-71.
Laal, M., Laal, M., & Kermanshahi, Z. K. (2012). 21st century learning; learning in collaboration. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 47(2012), 1696-1701.
Ministry of Education. (2002). National Education Act B.E.1999 (No.2) B.E.2002. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]
Office of Knowledge Management and Development. (2017). Next. The Knowledge, 1(3), 20-21. Retrieved from https://www.okmd.or.th/upload/pdf/magazine/The_Knowledge_vol_3.pdf [in Thai]
Office of the Education Council. (2007). Learning management from learning resources. Bangkok: Office of the Education Council. [in Thai]
Panich, V. (2013). Education in the 21st century. Bangkok: Siam Commercial Foundation. [in Thai]
Pornsima, D. (2016). Thai Teacher 4.0. Matichon online. Retrieved from https://www.matichon.co.th/columnists/news_345042 [in Thai]
Ruengrong, P., Jiravarapong, B., Manyum, W., Somyaron, W., Muendej, S., & Srisurat, C. (2013). Social media and Thai education. Retrieved from https://hooahz.wordpress.com/tag/thailand/ [in Thai]
Wiang Phang Kham Subdistrict Manicipality. (n.d.). Creating learning resources in the community. Retrieved from http://www.wiangphangkham.go.th/images/1206771081/2.pdf [in Thai]