การทดสอบความสามารถทางการใช้ภาษาไทยกับปรากฏการณ์แบควอชที่ส่งผลต่อการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

Main Article Content

ชญานิน บุญส่งศักดิ์

บทคัดย่อ

การทดสอบภาษาต่างประเทศได้มีควบคู่มากับการสอนภาษาต่างประเทศ โดยวัตถุประสงค์ของการสอน เพื่อการเผยแพร่ความรู้และทักษะทางภาษาให้ผู้เรียนได้มีทักษะในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้ามการทดสอบนั้นมุ่งทดสอบผลการสอนโดยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดความสามารถทางภาษาของผู้เรียน ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของการสอน และเป็นผลตอบกลับเพื่อใช้พัฒนาคุณภาพการสอน อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย (goal setting) มาตรฐานในการสอนภาษาต่างประเทศ และ การติดตามปรับปรุงพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่ให้สอดคล้องและบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรอย่างแท้จริง กล่าวได้ว่าการทดสอบนั้นมีผลกระทบต่อการสอนภาษาต่างประเทศ ทั้งความก้าวหน้าและการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปได้ เรียกได้ว่า “ปรากฏการณ์แบควอช” (backwash effect) งานวิจัยบางเล่มอาจ ใช้คำสลับกันว่า “ปรากฏการณ์วอชแบค” (washback effect) ทั้งนี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า “แบควอช” ทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ เนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์นี้อย่างเป็นทางการ พบว่าในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์แบควอชจำนวนไม่น้อย  (Ahmad & Rao, 2012; Bailey,1996; Manjarrés, 2005; Watanabe, 2004) โดยผลวิจัยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นทั้งทางบวก (positive) และทางลบ (negative) โดยในทางบวกคือ ปรากฏการณ์ตรงต่อผู้สอนเป็นส่วนใหญ่ที่จะนำผลการสอบมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนของตนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ส่วนในทางลบคือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สอนจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้คะแนนสูงเพียงอย่างเดียว ซึ่งเนื้อหาไม่ครบถ้วน ไม่บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร หรือเป็นการสอนเพื่อสอบ  (teaching to the test) (Cheng & Curtis, 2004; Pan, 2009) แม้แต่ในการทดสอบภาษาไทยเอง ปรากฏการณ์แบควอชนั้นก็มีผลทั้งทางบวกและทางลบด้วยเช่นเดียวกัน บทความนี้จึงมุ่งค้นคว้าและนำเสนอเกี่ยวกับบทบาทของการทดสอบภาษาไทยตามแนวคิดของปรากฏการณ์แบควอช ว่ามีผลอย่างไรต่อการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Ahmad, S., & Rao, C. (2012). Examination washback effect: syllabus, teaching methodology and the learners’ communicative competence. Journal of Education and Practice, 3(15), 173-183.

Alderson, J. C., & Wall, D. (1993). Does washback exist?. Applied linguistics, 14(2), 115-129.

Bailey, K. M. (1996). Working for washback: A review of the washback concept in language testing. Language Testing, 13(3), 257-279.

_____ (1999). Washback in language testing in practice: Designing and developing useful language tests (Vol. 1). OX: Oxford University.

Brown, H. D., (2001). Principles of Language Learning and Teaching [M]. Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.

Cheng, L., & Curtis, A. (2004). Washback or backwash: A review of the impact of testing on teaching and learning. Washback in Language Testing: Research Contexts and Methods, 3-17.

Lado, R. (1961). Language testing: The construction and use of foreign language testing [M]. London: Longman.

Heaton,J. B.(1990). Classroom Testing [M]. Longman.

Hughes,A. (1989). Testing for Language Teachers[M]. Cambridge University Press.

Feng Guoxin. (2003). A Study on The backwash Effect of Language Testing. [J].China Education and Teaching, (9).

Li Xiaoju. (1997). Science and Arts in Language Testing.[M].Changsha: Hunan Education Press.

Liu Runqing. (1991). Language Testing and Methods. [M]. Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.

_____. (1999) .College English Teaching. [M]. Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.

Sompong Witayasakpan. (2006). Teaching Thai as a Foreign Language. Thailand.

Su Dingfang, Zhuang Zhixiang. (1999). Modern Foreign Language Teaching----Theory, Practice and Methods. [M]. Shanghai: Foreign Language Education Press.

Han Baocheng. (2000). Language Testing: Theory, Practice and development.[J] Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.