การศึกษาความตรงเชิงโครงสร้างของแบบทดสอบ PSU-TEP ด้านการอ่าน: รูปแบบกระบวนการคิดด้านการอ่าน

Main Article Content

Thanyapa Palanukulwong

บทคัดย่อ

ข้อกังวลประการหนึ่งของแบบทดสอบคือแบบทดสอบได้วัดสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าความตรงเชิงโครงสร้างของข้อสอบทักษะการอ่านของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิจัยใช้ข้อมูลทางวาจาที่รวบรวมจากการกระตุ้นการเรียกความจำคืน ของผู้เข้าสอบที่มีความสามารถทางภาษาระดับสูงจำนวน 16 คน ซึ่งทำข้อสอบการอ่านในการจัดสอบที่ใช้ข้อสอบคู่ขนานรวม 4 ครั้ง เพื่อศึกษากระบวนการรู้คิดและกลวิธีที่ใช้ระหว่างทำข้อสอบ ผลการวิจัยพบว่าในภาพรวม กลวิธีการอ่านที่กลุ่มตัวอย่างนำมาใช้บ่อยที่สุดในการหาคำตอบที่ถูกต้องคือ กลวิธีการอ่านอย่างช้า ๆ และพินิจพิจารณาในระดับย่อหน้าและระดับบทอ่าน กลวิธีที่ใช้รองลงมาคือ การตัดตัวเลือกทิ้ง การใช้ความรู้ด้านคำศัพท์ การกวาดหาคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันในคำถามและบทอ่าน และการอ่านอย่างช้า ๆ และอย่างพินิจพิจารณาในระดับประโยค กลวิธีเหล่านี้ถูกพบในการทำข้อสอบทั้ง 4 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าข้อสอบทักษะการอ่านของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัดทักษะซึ่งมีความสำคัญต่อความเข้าใจในการอ่าน นั่นคือความสามารถในการอ่านอย่างช้า ๆ และอย่างพินิจพิจารณาในระดับประโยคและระดับองค์รวม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มตัวอย่างที่เข้าสอบแบบทดสอบวัดทักษะการอ่านของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ได้คะแนนสูง จะต้องมีความสามารถในการอ่านในชีวิตจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการอ่านอย่างช้า ๆ และอย่างพินิจพิจารณาเพื่อเข้าใจทั้งระดับประโยคและระดับบทอ่าน และต้องมีความรู้ด้านคำศัพท์เป็นอย่างดี เพราะความรู้ด้านคำศัพท์มีความสำคัญต่อความเข้าใจในการอ่าน การพบว่าการตัดตัวเลือกทิ้งเป็นกลยุทธ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้บ่อยเช่นกัน เป็นเพราะว่าลักษณะข้อสอบที่ใช้ในแบบทดสอบเป็นแบบตัวเลือก การวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปรวมไปถึงสำหรับผู้พัฒนาข้อสอบวัดทักษะการอ่าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alderson, J.C. (2000). Assessing reading. Cambridge: Cambridge University press.

Anderson, N. J., Bachman, L., Perkins, K. & Cohen, A. (1991). An exploratory study into the construct validity of a reading comprehension test: triangulation of data sources. Language Testing, 8(1), 41-66.

Bax, S. (2013). The cognitive processing of candidates during reading tests: Evidence from eye-tracking. Language Testing, 30(4), 441-465.

Brunfaut, T. & McCray, G. (2015). Looking into test-takers’ cognitive processing while completing reading tasks: A mixed-method eye-tracking and stimulated recall study. British Council English Language Assessment Research Group.

Gass, S. M. & Mackey, A. (2017). Stimulated recall methodology in applied linguistic and L2 research. New York: Routledge.

Green, A. (1998). Verbal protocol analysis in language testing research: A handbook. In M. Milanovic (Ed.), Studies in Language Testing 5, Cambridge: Cambridge University Press.

Heaton, J. B. (1988). Writing English language tests. Longman: New York.

Hughes, A. (1989). Testing for language teachers. Cambridge: Cambridge University Press.

Khalifa, H. & Weir, C. J. (2009). Examining reading: Research and practice in assessing second language reading. In M. Milanovic & C. Weir (Eds.), Studies in Language Testing 29, Cambridge: Cambridge University Press.

Lim, H.J. (2017). Exploring test-takers’ cognition in a high-stakes reading test: An eye-tracking study. The Journal of Asia TEFL, 14(3), 482-500.

Messicks, S. (1989). Meaning and values in test validation: The Science and ethics of assessment. American Educational Research Association, 18(5), 5-11.

Rupp, A. A., Ferne, T., & Choi, H. (2006). How assessing reading comprehension with multiple-choice questions shapes the construct: A cognitive processing perspective. Language Testing, 23(4), 441-474.

Weir, C. J. (2005). Language testing and validation: An evidence-based approach. Basingstoke: Palgrave Macmillan.

Weir, C. J., Hawkey, R., Green, A. & Devi, S. (2012a). The cognitive processes underlying the academic reading construct as measured by IELTS. In L. Taylor & C. J. Weir (Eds.), Studies in Language Testing 34 (pp. 212-269). Cambridge: Cambridge University Press.

Weir, C. J., Hawkey, R., Green, A., Unaldi, A. & Devi, S. (2012b). The relationship between the academic reading construct as measured by IELTS and the reading experiences of students in their first year of study at a British university. In L. Taylor & C. J. Weir (Eds.), Studies in Language Testing 34 (pp.37-119). Cambridge: Cambridge University Press.