ค่านิยมการส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูที่มีความหลากหลายกลุ่มวัยในวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา

Main Article Content

ชวลิต เกิดทิพย์
สุปราณี ใบหมัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะและการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของครู ที่หลากหลายกลุ่มวัย หาตัวแปรพยากรณ์คุณลักษณะพนักงานหลากหลายกลุ่มวัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การ และนำศึกษาค่านิยมการส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูที่มีความหลากหลายกลุ่มวัยในวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา (สพป.ยะลา) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังกัด สพป.ยะลา จำนวน 195 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของ Likert จำนวน 4 ฉบับ จำแนกตามคุณลักษณะกลุ่มวัย ซึ่งแต่ละฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 843, .859 และ .786 ตามลำดับ และแบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ มีค่าความเชื่อมั่น .940 และ ผู้ร่วมสนทนากลุ่มมี จำนวน 11 คน ใช้เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะของครูกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ส (GenBB) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คุณลักษณะของครูกลุ่มเจเนอเรชั่น X (Gen X) และ Y (Gen Y) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ครูมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) คุณลักษณะด้านมีความรู้และประสบการณ์ของครู Gen BB คุณลักษณะของครู Gen X ปรับตัวได้ดีและเป็นกันเอง คุณลักษณะของครู Gen Y เน้นกระบวนการคิดและปรับตัวได้ดี ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์การตามการรับรู้ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ค่านิยมการส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูที่มีความหลากหลายกลุ่มวัยในวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ประกอบด้วย (1) การปรับ Mindset ของครูทุกกลุ่มวัย (2) มองหาและชื่นชมในข้อดี (3) ใช้ข้อเท็จจริงในการตักเตือนอย่าง เป็นเหตุเป็นผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กริช สืบสนธิ. (2537). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุรงค์ นภาธร. (2560). การบริหารพนักงานหลากหลายกลุ่มวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน : มุมมองระหว่างเจเนอเรชั่นต่างๆในองค์การ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 31(121), 1-25.
เดชา เดชะวัฒนไพศาล, กฤษยา นุ่มพยา, จีราภา นวลลักษณ์ และ ชนพัฒน์ ปลื้มบุญ. (2557). การศึกษาเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อคุณลักษณะของเจเนอเรชั่นอื่น. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 36(141), 1-17
ธรรมรัตน์ อยู่พรต. (2556). ค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของเจเนอเรชั่นต่างๆ. วารสารบริหารธุรกิจ. 36(138), 40-62
นฤมล สุ่นสวัสดิ์. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน. กรุงเทพฯ: วันทิพย์.
นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.
ปภาวิน นาควิจิตร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ปรารถนา ศรนุวัตร และประจวบเพิ่มสุวรรณ (2557). ปัจจัยของคนรุ่นเจเนอเรชั่นที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 8(2), 47-66.
พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัย : กรณีศึกษาบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์ (2545). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย : ตายดี วิถีที่เลือกได้. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
รัชฎา อสินนธิสกุล และ อ้อยอุมา รุ่งเรือง. (2548). การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเจเนอเรชั่นวาย (Generation Y) เพื่อการประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
วันชัย มีชาติ. (2548). พฤติกรรมบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ และ ธนวรรช ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ : Management and Organization Behavior. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.
สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.
Robbin, S. P. (2005). Essentials of organizational behavior. New Jersey : Pearson Education.
O’Reilly, C. A., III, Chatman, J. A., & Caldwell, D. F. (1991). People and organizational culture: A profile comparison approach to assessing person-organization fit. Academy of Management Journal, 34, 487–516.