การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นศูนย์กลางร่วมกับการอภิปรายไตร่ตรอง เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

รุจน์ ฤาชา
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ
วิไลลักษณ์ ลังกา
ดวงใจ สีเขียว

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของไทย และเพื่อพัฒนาหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นศูนย์กลางร่วมกับการอภิปรายไตร่ตรองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัล การดำเนินการวิจัย ระยะ 1 ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นให้ครูมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 750 คน ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของสมรรถนะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะ 2 พัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตร ระยะ 3 ประสิทธิผลของหลักสูตรโดยทดลองกับกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
จำนวน 24 คน เป็นเวลา 30 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของหลักสูตรโดยใช้ E1/E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิผลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรพหุนามแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัลที่เหมาะสมกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของไทยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ 5 องค์ประกอบ ด้านกระบวนการ 3 องค์ประกอบ และด้านคุณลักษณะ 2 องค์ประกอบ ผลการประเมินระดับความเหมาะสมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) หลักสูตรที่ผู้วิจัยพัฒนาเน้นการนำประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมและปรากฏข้อมูลในสังคมดิจิทัลมาเป็นหัวข้อให้นักเรียนอภิปรายไตร่ตรองในชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัล ประสิทธิภาพของหลักสูตรที่เกิดจากการทดสอบย่อยระหว่างการอภิปรายไตร่ตรองในห้องเรียนกับการทดสอบหลังเรียนได้ผลเท่ากับ 79.07/81.70 และ 3) ประสิทธิผลหลังการใช้หลักสูตรระดับสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัลของนักเรียนสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย