ทิศทางการผลิตครูประถมศึกษาของประเทศไทยที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ครูกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล

Main Article Content

ยศวีร์ สายฟ้า

บทคัดย่อ

ครูประถมศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการประถมศึกษาเพราะเป็นผู้ทำงานกับเด็กประถมศึกษาโดยตรง กระบวนการผลิตครูประถมศึกษาให้มีคุณภาพจึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัลที่มีผลต่อการผลิตครูประถมศึกษา 2) วิเคราะห์ความแตกต่างของสภาพที่ควรจะเป็นและสภาพที่เป็นอยู่ในการผลิตครูประถมศึกษา และ 3) นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับทิศทางการผลิตครูประถมศึกษา วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลิตครูประถมศึกษาของสถาบันผลิตครูจำนวน 9 แห่ง การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง การใช้แบบสอบถามความต้องการใช้ครูสำหรับผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 183 คน และการจัดประชุมอภิปรายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาประถมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 20 คน


ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคดิจิทัลที่มีผลต่อการผลิตครูประถมศึกษาประกอบด้วย การเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ คุณภาพการดูแลเลี้ยงดูและสัมพันธภาพภายในครอบครัว บรรทัดฐานของต้นแบบทางสังคม คุณภาพครูประถมศึกษา และนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำหรับคุณสมบัติของครูประถมศึกษาในสังคมยุคดิจิทัล ได้แก่ ความรู้แกนสำหรับครูประถมศึกษาในสังคมยุคดิจิทัล ความสามารถในการเป็นครูประจำชั้น ความสามารถทางเทคโนโลยี ทักษะที่จำเป็นสำหรับครูประถมศึกษาในสังคมยุคดิจิทัล การมีจิตวิญญาณความเป็นครูประถมศึกษา และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยจิตบริการ งานวิจัยนี้ยังพบความแตกต่างของสภาพที่ควรจะเป็นและสภาพที่เป็นอยู่ในการผลิตครูประถมศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของการผลิตครูประถมศึกษา ซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับทิศทางการผลิตครูประถมศึกษาในพื้นที่เครือข่ายภาคกลางตอนล่างครอบคลุมทั้งสามประเด็นข้างต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย