การพัฒนาทักษะการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ส 32104 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Main Article Content

ศิริขวัญ ชิณศรี
กนก จันทร์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกระบวนการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 40 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด แบบสังเกตทักษะการคิด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียน และเครื่องมือในการบันทึกพฤติกรรมของนักเรียน ประกอบด้วย แบบบันทึกภาคสนาม แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบบันทึกหลังเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ความยากง่าย (P) อำนาจจำแนก (D) ความเชื่อมั่น (r) และทดสอบค่าที (t–test dependent)


ผลจากการศึกษา พบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการคิด เฉลี่ย 96.39 โดยมีทักษะคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงที่สุด (ร้อยละ 97.32) และทักษะการคิดสร้างสรรค์ (ร้อยละ 96.88) ทักษะการคิดสังเคราะห์ (ร้อยละ 95.83) และทักษะการคิดวิเคราะห์ (ร้อยละ 95.54) รองลงมาตามลำดับ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิด ระดับมาก (4.25) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.72

Article Details

บท
บทความวิจัย