รูปแบบการให้คำปรึกษาช่วยเหลือดูแลนักศึกษาที่จะได้รับทุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในระดับปริญญาตรี

Main Article Content

พีรธร บุณยรัตพันธุ์
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย
พงษ์เอก สุกใส
บุญส่ง กวยเงิน
เอกชัย โกมลกิตติ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นในการพัฒนาขีดความสามารถหลักของนักศึกษาที่จะได้รับทุน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ และความไม่สำเร็จของรูปแบบการให้คำปรึกษาช่วยเหลือดูแลนักศึกษาผลิตบัณฑิตครูที่ผ่านมา 3) เพื่อศึกษาถอดบทเรียนต้นแบบที่ดีรูปแบบการให้คำปรึกษา และ 4) เพื่อศึกษาการสร้างชุดความรู้และแนวทางการนำไปใช้รูปแบบการให้คำปรึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาคุณลักษณะความเป็นครูอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร สนทนากลุ่มและระดมความคิดเห็น ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการให้คำปรึกษาด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสารและสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาถอดบทเรียนต้นแบบที่ดีรูปแบบการให้คำปรึกษาด้วยวิธีการสังเคราะห์การจัดการความรู้และสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาการสร้างชุดความรู้และแนวทางการนำไปใช้รูปแบบการให้คำปรึกษาด้วยวิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้และสนทนากลุ่ม พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยทักษิณ


ผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะ ประกอบด้วย สมรรถนะที่ 1 คือ รักวิชาชีพครู ได้แก่ 1.1) สำนึกความเป็นครู 1.2) จิตคุณธรรมและจริยธรรม 1.3) การจัดกระบวนการเรียนรู้ และ 1.4) การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สมรรถนะที่ 2 คือ รอบรู้เชี่ยวชาญ ได้แก่  2.1) ทักษะชีวิตที่หลากหลาย 2.2) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 2.3) การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และสมรรถนะที่ 3 คือ สืบสานท้องถิ่น ได้แก่ 3.1) จิตสาธารณะ 3.2) ความผูกพันธ์ในถิ่นฐาน 3.3) การปรับตัวกับสภาพสังคมทางวัฒนธรรม และ 3.4) การนำและจัดการประสานงาน 2) แนวทางการให้คำปรึกษา พบว่า 2.1) ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา 2.2) การเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ 2.3) การแนะแนวการศึกษาและสังคม 2.4) การสื่อสารกับผู้ปกครอง 2.5) ที่พักนักศึกษา และ 2.6) เพิ่มสมรรถนะขีดความสามารถนักศึกษา 3) บทเรียนต้นแบบที่ดีรูปแบบการให้คำปรึกษา พบว่า บทเรียนที่ได้จากการศึกษาองค์ความรู้จำนวน 6 บทเรียน 4) ชุดความรู้และแนวทางการใช้รูปแบบการให้คำปรึกษา พบว่า การสร้างชุดความรู้มีจำนวน 6 ชุดความรู้ที่เป็นแนวทางการใช้รูปแบบการให้คำปรึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

บุญส่ง กวยเงิน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

ตำแหน่ง อาจารย์

สังกัด คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์