การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารวิชาการ ผู้ประสานงาน และครูผู้สอน จากโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา (โรงเรียนมัธยมศึกษา) ในประเทศไทย จำนวน 52 คน ผู้ให้ข้อมูลได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ในด้านการกำหนดนโยบาย และด้านการสนับสนุน 2) การพัฒนาครู 3) การจัดการเรียนการสอน ในลักษณะของการบูรณาการในรายวิชา การจัดกิจกรรมชุมนุม และการจัดค่ายสะเต็ม 4) การนิเทศ โดยบุคลากรในโรงเรียน และบุคลากรภายนอก และ 5) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ฉวีวรรณ พันวัน. (2552). การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาลําพูน เขต 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ธิติพร ตนัยโชติ. (2549). ภาวะผู้นํา. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 14(2), 42-47
บุญเชิด สุขอภิรมย์. (2541). บทบาทของคณะกรรมการศึกษาประจำโรงเรียนกับการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาการดำเนินงานโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
เบญจมาศ อยู่เป็นแก้ว. (2548). การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2550). เทคนิคการเขียนและการผลิตตำรา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปสุตา เพ็งประสพ. (2551). การศึกษาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนเซนต์หลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม. สสวท, 42(185), 14-18.
มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวคิด กระบวนการและการวิเคราะห์. เชียงใหม่: คนึงนิจการพิมพ์.
วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ และอาทร นกแก้ว. (ม.ป.ป). STEM (ตอนที่ 1: อะไรและทำไม). สืบค้นจาก http://www.ilearnsci.com/423522458
วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิจารย์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วินัย ดิสสงค์. (2549). การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2557). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สงัด อุทรานันท์. (2538). หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.). คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. ม.ป.ท.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สกศ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาด้านสะเต็มศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สกศ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สะเต็มศึกษา: วัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับกำลังคนในศตวรรษที่ 21. การประชุมโต๊ะกลมไทย-สหรัฐฯ ด้านการศึกษา ครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่...เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดาวรรณ เครือพานิช. (2553). การเรียนรู้ผ่านกระบวนการค่าย. วารสารวิชาการ. 13(1), 16-19.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 237-250.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. 2558. สะเต็มศึกษา: ความท้าทายใหม่ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สสวท., 42(186), 3-5.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2538). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ
Breiner, J.M., Harkness, S. S., Johnson, C. C., & C. M. Koehler. (2012). What is STEM? A discussion about conceptions of STEM in education and partnerships. School Science and Mathematics, 112(1), 3-11.
English, L.D. (2016). STEM education K-12: perspectives on integration. International Journal of STEM Education, 3(1), 3. http://doi.org/ 10.1186/s40594-016-0036-1
Seidman, I. E. (1998). Interviewing as qualitative research: A guide for researchers in education and the social sciences (2nd ed.). New York: Teachers College Press.