ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิตตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ที่มีต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กานติมา เอี่ยมมา
นพพร แหยมแสง
วรนุช แหยมแสง
ภัทรวดี หาดแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 แล้วเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน 1 ห้องเรียน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย .25-.78 ค่าอำนาจจำแนก .20-.71 และค่าความเชื่อมั่น .862 แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่น .817 และชุดกิจกรรม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 1.00 จากผู้เชี่ยวชาญ เห็นตรงกันว่าสามารถดำเนินการให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลต่อนักเรียนเป็นสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.95/83.62 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ช่วยกันคิด ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมสร้างข้อเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดความภูมิใจเห็นคุณค่าของตนเอง ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ 3) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย