การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ปรีดา หนูชู
อัญชลี ทองเอม
สมพร โกมารทัต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนถลางพระนางสร้าง จำนวน 33 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 3) แบบประเมินคุณลักษณะการรู้เท่าทันสื่อ 4) แบบประเมินความสามารถการคิดวิเคราะห์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Paired Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อสร้างเสริมการคิดวิเคราะห์และการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ชื่อว่า IPAT Model มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมี 5 ขั้น คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและสืบค้น ขั้นอธิบายและสรุป โดยใช้ สุ. จิ. ปุ. ลิ.(หัวใจนักปราชญ์) และการวิเคราะห์ตามแนวคิดของบลูม (Bloom) ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินผล และ (4) การประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของรูปแบบฯ พบว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลอง (1) มีความสามารถการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (2) มีผลสัมฤทธิท์ างการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (3) มีคุณลักษณะการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย