การพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาครูผ่านหนังสือผสานความจริงเสมือน

Main Article Content

ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา
คณิตา นิจจรัลกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของหนังสือผสานความจริงเสมือน (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาครูระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือผสานความจริงเสมือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาครูที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา จำนวน 123 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 54 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) หนังสือผสานความจริงเสมือน (2) แบบวัดทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอน (3) แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อหนังสือผสานความจริงเสมือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t - test
ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพของหนังสือผสานความจริงเสมือนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.45 อยู่ในระดับดีและค่าประสิทธิภาพ (E1/E2)ของหนังสือผสานความจริงเสมือน เท่ากับ 83.95/82.57 (2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาครูระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองที่เรียนผ่านหนังสือผสานความจริงเสมือนมีทักษะการผลิตสื่อการเรียนการสอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักศึกษาครูมีความพึงพอใจต่อหนังสือผสานความจริงเสมือน ระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53

Article Details

บท
บทความวิจัย