การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการ ระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

Main Article Content

สุรีพร สุวรรณชาตรี
เมธี ดิสวัสดิ์
เสาวรส ยิ่งวรรณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3) การทดลองใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับผู้อำนวยการกองและหัวหน้าฝ่าย โดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมิน 4) การประเมินตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานธุรการ
ระดับปฏิบัติงาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยการสอบถามผู้อำนวยการกองและหัวหน้าฝ่ายที่เป็นกลุ่มทดลองใช้ในขั้นตอนที่ 3
ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 2 สมรรถนะ คือ สมรรถนะหลักมี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม มี 6 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน มี 8 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการบริการเป็นเลิศ มี 5 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม มี 8 ตัวบ่งชี้ และสมรรถนะประจำสายงาน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการยึดมั่นในหลักเกณฑ์ มี 6 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการสั่งสมความรู้และความเชี่ยวชาญในสายอาชีพ มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความละเอียดรอบคอบและความถูกต้องของงาน มี 6 ตัวบ่งชี้ ผลการทดลองใช้ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า จากการประเมินตัวบ่งชี้ 53 ตัวบ่งชี้ โดยผู้อำนวยการกองและหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้ประเมิน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมินมีความสอดคล้องกันผลการประเมินการใช้ตัวบ่งชี้การประเมินผลการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้อำนวยการกองและหัวหน้าฝ่ายมีความคิดเห็นต่อการใช้ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม ด้านความแม่นยำ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย