เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนต้นแบบ สหกรณ์โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

กุลธิดา อ่วมอิ่ม
นพพร จันทรนำชู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรม เงื่อนไขความสำเร็จ และศึกษาแนวทางการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ของโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน ระดับประเทศ รุ่นที่ 2 ระดับดีเด่น จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 2) โรงเรียนวัดท่าชุมชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 29 คน การวิเคราะห์เนื้อหาโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน แบ่งได้ดังนี้ 1) ด้านการตลาด ส่งผลกระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ได้ฝึกวิเคราะห์การวางแผนการผลิต ฝึกฝนการลงมือผลิตและการหาช่องทางการจัดจำหน่าย 2) ด้านการเงิน ส่งเสริมการฝึกวินัยการออมของนักเรียนโดยกำหนดวิธีการออมที่เหมาะสม สอดแทรกให้นักเรียนได้เรียนรู้การดำเนินงานในรูปแบบธนาคาร 3) ด้านการผลิต สนับสนุนให้นักเรียนเกิดทักษะทางด้านอาชีพ ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานโดยนักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจากขั้นตอนการผลิตจริง รวมถึงการจัดจำหน่าย 4) ด้านสวัสดิการ โดยนำกำไรส่วนหนึ่งจากสหกรณ์มาจัดกิจกรรมสวัสดิการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกและส่วนร่วม (2) เงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน แบ่งได้ดังนี้ 1) ด้านผู้นำ ผู้นำมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมโดยการกำหนดเป้าหมาย ความสำเร็จของงานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานของแต่ละฝ่ายมีทิศทางไปสู่ความสำเร็จเดียวกัน 2) ด้านคณะกรรมการ ทำหน้าที่ร่วมกำหนดนโยบาย การวางแผน การบริหารงาน ทิศทางในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนร่วมกับผู้นำในลักษณะการระดมความคิด 3) ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยสมาชิก  ทำหน้าที่ตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของผู้บริหารและคณะกรรมการให้เกิดความโปร่งใส 4) ด้านการเรียนรู้ การทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ คณะกรรมการและสมาชิกของนักเรียนเกิดจากการเรียนรู้หน้าที่ความรับผิดชอบ กฎระเบียบ และข้อบังคับที่ถือปฏิบัติเพื่อให้การทำงานเกิดผลสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รุ่งรวีพิริยะกิจ. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดอกไม้การบูร ของโรงเรียนบ้านป้องกันตนเองด่านชุมพล ตำบลด่านชุมพร อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกศินี ศรีสุข. (2560). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนวัดสุวรรณารัญญิกาวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2555). วาระแห่งชาติ ด้านการสหกรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2556). คู่มือการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เพชรบุรี: เพชรบุรีการพิมพ์.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2555). “สรุปโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ประจำปีงบประมาณ 2555”. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร ถาวร. (2553). การศึกษาการจัดสวัสดิการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจษฎาพงษ์ บัวเกษ. (2542). รูปแบบและปัจจัยที่ทำให้กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนประถมศึกษาดำเนินการแบบครบวงจร กรณีศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ธิติมา หอมวุฒิวงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดพะเยา.วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธีรดา อินทร์พรหม. (2559). การจัดกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพพร จันทรนำชู และพรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2557). ศึกษาความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนและความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านคลองหลวง และชุมชนบ้านคลองปีกนก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

นพพร จันทรนำชู, พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ และยุวรี ผลพันธิน. (2559). ศึกษารูปแบบการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน. สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ประจักษ์ ฟั่นพรม. (2553). ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประพจน์ แก้วบุดดา. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสหกรณ์ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพ สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล. (2553). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางธุรกิจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิเชฐ ทองคำ. (2558). ผลการดำเนินโครงการธนาคารโรงเรียนของธนาคารออมสินในเขตพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภูษณิศา สุวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (2561). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก (13 ตุลาคม 2561). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

รัชฎาพร พุทซาคำ. (2550). การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารศรีสองรัก จำกัด. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

รัชตา ทันประเสริฐ. (2561). แนวทางการดำเนินงานและปัจจัยที่สนับสนุนการก้าวสู่ความสำเร็จโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านกระสังสามัคคี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

รัชพร มลิกุล. (2559). การบริหารกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

วิริยพงษ์ เสือหาญ. (2554). ปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้าน บ้านบ่อสวาย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สัญญา บุญยะโหตระ. (2538). ความพึงพอใจเกี่ยวกับสวัสดิการของครูโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุกัญญา คุ้มกลาง. (2553). การดำเนินงานการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสหกรณ์ โรงเรียนขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สมโชค จุลเพชร. (2551). การดำเนินกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโคกมะขาม อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักสารนิเทศ.

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โครงการต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน.

สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). โครงการต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน.

Munir, M.T. (2018). Flipped classroom with cooperative learning as a cornerstone. Education for Chemical Engineers, 18(23), 25-33.

Neumann.W. Patrick. (2016). Exposuer to physical risk factors in Dutch agriculture: Effect on sick leave due to musculoskeletal disorders. Department of Mechanical Engineering, Ryerson University, Canada.