การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 250 คน ซึ่งได้มาโดย  การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าการวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ผู้เรียน และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมาก 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ คือ (1.1) หลักการ (1.2) วัตถุประสงค์ (1.3) สาระการเรียนรู้ (1.4) กิจกรรมการเรียนรู้ (1.5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ระเบิดจากข้างใน ขั้นที่ 2 มีส่วนร่วม ขั้นที่ 3 ทำตามลำดับ และขั้นที่ 4 มีภูมิคุ้มกัน 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า (3.1) นักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจวิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  (3.2) นักศึกษาวิชาชีพครูมีสมรรถนะในการคิดออกแบบการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ (3.3) นักศึกษาวิชาชีพครูมีสมรรถนะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2561). เอกสารคำสอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้. กลุ่มมาตรฐานวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

การีมะห์ และหีม. (2559). ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 20 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 (เอ็งเสียงสามัคคี). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 27(3), 78-92 .

กฤติยา อริยา. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 1-17.

ชุลีกร สายเกียรติวัติ .(2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนเรศวร].

ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2561). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4 (ฉบับเสริมครบรอบ 12 ปี), 9-21.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพันธ์ เวชเตง .(2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(3),66-78.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่.

อาภากร โพธิ์ดง . (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ฮามีนะ โซ๊ะสะตา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนมุ่งประสบการณ์ภาษาแบบประยุกต์ (CLEA) ที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่อ่านไม่ได้ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Joyce, B. and Weil, M. (2000). Model of teaching. (6th ed.). New York : Allyn & Bacon.