การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างสังกัดและขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน (3) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ และ (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูที่ปรึกษา และครูแนะแนว จำนวน 36 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 654 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนว และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t- test) ด้วยการเปรียบเทียบรายคู่ (Paired-Samples T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิธี Modified Priority Needs Index (PNIModified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ โดยคะแนนเฉลี่ยของสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับสูง  ( =3.50, S.D.=0.71) และคะแนนเฉลี่ยของสภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในระดับสูงมาก ( =4.33, S.D.=0.55) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน 2) โรงเรียนที่อยู่ในสังกัดและขนาดที่แตกต่างกัน จะมีคะแนนเฉลี่ยความต้องการจำเป็นในงานบริการแนะแนวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโรงเรียนสังกัด สพม. มีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูงกว่า ( =4.42, S.D.=0.48) โรงเรียนสังกัด สพป. ( =4.07, S.D.=0.64)  ทั้งนี้ โรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่พิเศษ มีคะแนนเฉลี่ยของความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้บริหาร ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา และนักเรียน มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียนมากที่สุด คือ บริการจัดวางตัวบุคคล (PNIModified = 0.28) รองลงมาคือ บริการให้คำปรึกษา (PNIModified = 0.27) บริการติดตามและประเมินผล (PNIModified = 0.26) บริการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล (PNIModified = 0.20) และบริการสนเทศ (PNIModified = 0.17) 4) ความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนางานบริการแนะแนวในโรงเรียน ในภาพรวมผู้บริหาร ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา และนักเรียน ได้เสนอแนะว่า ควรมีบุคลากรด้านการแนะแนวเพียงพอกับจำนวนนักเรียนแต่ละโรงเรียน มีครูแนะแนวที่มีวุฒิทางการศึกษาแนะแนวโดยตรง มีกล่องให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น มีห้องรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนอย่างทั่วถึง มีการจัดหาแหล่งงานที่นักเรียนสามารถทำงานพิเศษหรือหารายได้พิเศษระหว่างเรียน มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูเกี่ยวกับการให้คำปรึกษานักเรียน สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริหาร ครู นักเรียน และบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนได้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ เที่ยงธรรม. (2546). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏนครราชสีมา).

กริชวัช ฐานะกิจ. (2546). การบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฏเชียงราย).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เกศรา น้องคนึง และดนิตา ดวงวิไล. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนว โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารการบริหารและทิศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(1), 129-130.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). สถิติทางการศึกษาปี 2561. http://www.bopp-obec.info/home/?page_id=14038

คฑาวุธ ขันไชย. (2561). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. CMU Journal of Education. 2(2), 1-22.

จารุวรรณ ธะวิชัย. (2541). ปัญหาในการจัดบริการแนะแนวของครูแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).

ชุติมา หอมสนิท. (2558). ความต้องการบริการแนะแนวของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. งานวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากงบประมาณอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พรวลัย อริยะรัศมีทรัพย์. (2554). การศึกษาปัญหาและความต้องการบริการแนะแนวของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

โพธิพันธ์ พานิช. (2558). “แนวคิดเกี่ยวกับหลักและระบบงานแนะแนว”. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบงานแนะแนวในสถานศึกษา หน่วยที่ 1-7. (หน้า 1-37). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิชิต จินดาศรี ธนวิน ทองแพง และชัยพจน์ รักงาม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8(2), 117-140.

ธนตพร พูนปริญญา. (2553). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานแนะแนวของครูแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสกลนคร. วารสารวัดผลการศึกษา. 16(1), 171-177.

นงค์นุช สิงโพธิ์ทอง ฐิติพร พิชญกุล และอรสา จรูญธรรม. (2554). การดำเนินงานแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ปทุมธานี-สระบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5(3), 11-18.

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2557). “การจัดบริการแนะแนวในระดับประถมศึกษา”. เอกสารการสอนชุดวิชาการแนะแนวในระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 1-7. (หน้า 1-47). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิรุทธ์ วัฒโนภาส และวัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์. (2561). การศึกษาความต้องการการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(1), 2630-26420.

นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2558). การแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียน. สงขลา: สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปณิธาน เปรื่องนนท์. (2556). การศึกษาความพร้อมและความคาดหวังการปฏิบัติงานสถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

ปทุม มหาปราบ. (2557). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 1(1), 37-45.

ประชา การินทร์ จิณณวัตร ปะโคทัง และสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2557). สภาพการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 14 (2), 108-123.

ปราณี ตันติตระกูล. (2557). ปัจจัยการควบคุมงานแนะแนวในโรงเรียนในมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8-10. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 7(2), 505-522.

มนตรี อินตา สุพัตรา สกุลศรีประเสริฐ และมนทกานต์ เมฆรา. (2561). การแนะแนวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของวัยรุ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(2), 2513-2530.

มาลี ศรีสมปอง. (2553). สภาพจริงและความต้องการบริการแนะแนวของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. ทุนสนับสนุนงานวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัญจวน คำวชิรพิทักษ์. (2552). “ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา”. เอกสารการสอนชุดวิชาการแนะแนวในระดับมัธยมศึกษา หน่วยที่ 1-7. (หน้า 1-31). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วินัย คำวิเศษ และกฤษณะ ดาราเรือง. (2561). การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(1), 221-231.

วีระศักดิ์ ราตรี. (2548). การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมแนะแนวโรงเรียนบ้านหนองคูณพินทอง อำเภอประโคนชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ลักขณา สริวัฒน์. (2543). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวดี บุญญวงศ์. (2558). “การแนะแนวในฐานะวิชาชีพชั้นสูง”. เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการแนะแนว หน่วยที่ 1-7. (หน้า 1-66). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรคุปต์ บุญเกษม สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ และวินัย รังสินันท์. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 217-230.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2557). รูปแบบแนวดำเนินการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: มปท.

อมรรัตน์ คำหอม ยงยุทธ ยะบุญธง และชูชีพ พุทธประเสริฐ. (2561). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการงานแนะแนวในโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับ เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสะเมิง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(2), 75-89.

อานนท์ คนขยัน คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล และศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 2(1), 135-151.

อรวิไล สว่างคำ. (2548). คู่มือการปฏิบัติงาน: การจัดบริการแนะแนวระดับประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

อรนิตย์ สุวรรณไตรย์ ชวนคิด มะเสนะ และอัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิต วิทยาลัยพิชญทรรศน์. 10(1), 103-111.

อุษณีย์ เย็นสบาย. (2548). จิตวิทยาแนะแนว. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Ahmed, M., Ahmed, K.S., Khan, N.I., & Ahmed, M. (2007). Access to Education in Bangladesh Country Analytical Review of Primary and Secondary Education. Brac University Institute of Education and Research.

Arredondo, P., Toporek, R., Brown, S.P., Jones, J., Locke D. Sanchez, J. & Stadler, H. (1996). Operationalisation of multicultural competencies. Journal of Multicultural Counselling and Development. 24, 42-78.

Barriga, A.Q., Dorsan, J.W., Newell, S.B., Morrison, E.M., Barbetti, V., & Robbins, B.D. (2002). Relationship between Problem Behaviors and Academic Achievements in Adolescents: The Unique Role of Attention Problems. Journal of Emotional and Behavioral Disorders. 10(4), 233- 240.

Brittingham, B.E. & Netusil, A.J. (2008). The reliability of goal ratings in a needs assessment procedure. http://www.eric.ed.gov/ERICWebPortal//custom/portlets/recordDetails/detail/mini.jsp?

College Board Advocacy & Policy Centre. (2011). School Counsellors Literature and Landscape Review: The State of School Counselling in America: Civic Enterprises.

Eaton D.K., Kann, L., Kinchen, S., Shanklin, S., Ross, J., Hawkins, J., Harris, W.A., Lowry, R., McManus, T., Chyen, D., Lim, C., Brener, N.D., & Wechsler, H. (2008). Centers for Disease Control and Prevention (CDC) 2008 Youth risk behavior surveillance-United states 2007. Morbidity and Mortality Weekly Report Surveillance Summaries. 57(4), 1–131.

Erikson, E. (1950). Childhood and Society. New York: Norton. Gardner, P.W., Ritblatt, S.N., & Beatty, J.R. (2000). Academic achievement and parental school involvement as a function of high school size. High School Journal. 83(2), 21–27.

Hossain, S. (2013). A Study of Determining the Relationship between Academic Achievement and Problem Behavior of Urban Secondary School Students in Bangladesh. The International Journal of Social Science. 8(1), 1-10.

Hossain, S. & Faisal, R.A. (2013). Guidance and Counseling Services in Schools of angladesh: An Exploratory Study. International Journal of Science and Research (IJSR). 2(10), 132-138.

Isaac, S. & Michael, W.B. (1995). Handbook in Research and Evaluation. San Diego: EdITS.

Joseph, M. (2015). Nature and Benefits of Guidance and Counseling Services offered in Selected Public Secondary Schools in Mansa District. Thesis (M.A. Ed Psychology). University of Zambia.

Kasonde, S.N., Ndhlovu, D., & Phiri, J.T. (2009). The impact of guidance and counseling services on high school. Lusaka: University of Zambia.

Lai -Yeung, S.W.C. (2014). The need for guidance and counselling training for teachers. Procedia – Social and Behavioral Sciences. 113, 36–43.

Makumba, C.E. (2013). The status of guidance and counseling provision in selected basic schools in Mumbwa District. Thesis (M.A. Ed Educational Psychology). University of Zambia

Mapfumo, J., & Nkoma, E. (2013). The State of Guidance and Counselling Programmes in High Schools in Manicaland, Zimbabwe. International Journal of Scientific Research in Education. 6(2), 100-116.

New Zealand Post Primary Teachers’ Association (NZPPTA). (2015). The School Counsellor: Guidelines for Principals, Boards of Trustees, Teachers and Guidance Counsellors. NZPPTA & NZ Association of Counsellors.

Njeri, N.P. (2007). The Influence of Guidance and Counseling Programme on Academic Performance of Selected Public Secondary School Students: A Case of Bahati Division, Nakaru Dstrict. Thesis (M.A. Ed Guidance and Counseling). University of Egerton

Nkhata, L. (2010). Guidance Services in Boarding High Schools in Southern Province, Zambia. Thesis (M.A. Ed Psychology). University of Zambia.

Patel, V., & De Souza, N. (2000). School drop-out: A public health approach for India. National Medical Journal of India. 13, 316–318.

Schneider, B., Wyse, A.E., & Kessler, V. (2007). Is small really better? Testing some assumptions about high school size. In D. Ravitch (Ed.), Brookings Papers on Education Policy, 2006/2007 (pp. 15–47). Washington, DC: Brookings Institution Press.

Sharma, R.N. & Sharma, R. (2004). Guidance and Counseling in India. New Dehli: Atlantic Publishers and Distributors.

Singh, Y.K. (2007). Guidance and Career Counseling. New Dehli: APH Publishing Coporation, Darya Ganj.

Tuchili, A. M. (2008). Evaluation of school guidance and counseling services provision in selected schools in Lusaka district. Thesis (M.A. Ed Psychology). University of Zambia.

UNESCO. (2000). Guidance (Module I). Paris: Agzi Communication.