ระบบพี่เลี้ยงทางไกลสำหรับนักศึกษาภายใต้หลักสูตรโมบิลิตี้ : กรณีศึกษาหลักสูตรโมบิลิตี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

Main Article Content

ปิยวรรณ รุ่งวรพงศ์

บทคัดย่อ




การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ใช้หลักสูตรโมบิลิตี้หรือหลักสูตรถ่ายโอนหน่วยกิตแบบ 3+1 เป็นกรณีศึกษา มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวในต่างแดนของนักศึกษา 2.ประเมินความ พึงพอใจของนักศึกษาที่เข้าใช้บริการระบบพี่เลี้ยงทางไกลที่หลักสูตรจัดให้ และ 3.พัฒนาปรับปรุงระบบพี่เลี้ยง โดย เก็บข้อมูลจากนักศึกษาในหลักสูตรท่ีกำลังเรียนอยู่ในประเทศจีนจำนวน 18 คน พี่เลี้ยง 2 คน และตัวแทนจาก มหาวิทยาลัยในประเทศจีน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม การสังเกตุสเตตัสเฟซบุ๊กของนักศึกษาและการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก


ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อกำหนดของหลักสูตรบางประการขาดความยืดหยุ่นและการขาดประสบการณ์ใน ต่างประเทศของนักศึกษาทำให้การปรับตัวในต่างแดนยากยิ่งขึ้นในขณะที่กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง ที่หลักสูตรจัดให้และการมองโลกในแง่บวกของนักศึกษาช่วยให้นักศึกษาก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประสบในการเรียน และใช้ชีวิตในต่างประเทศได้ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของระบบพี่เลี้ยงทางไกลอยู่ระดับน้อยแต่ มีความพึงพอใจในตัวพี่เลี้ยงในระดับปานกลาง ผลจากการวิจัยทั้งหมดได้นำมาปรับปรุงระบบพี่เลี้ยงและให้ชื่อระบบ พี่เลี้ยงทางไกลระบบใหม่ว่า Me@Overseas ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารคุณลักษณะและทักษะการสื่อสาร ของพี่เลี้ยงรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างพี่เลี้ยงและนักศึกษา ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าฝ่ายบริหารจำเป็นต้องให้ การสนับสนุนทั้งในเรื่องนโยบายและอุปกรณ์ท่ีต้องใช้ในระบบพี่เลี้ยงรวมถึงการประชุมหารือกับมหาวิทยาลัยใน ต่างประเทศเพื่อร่วมแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่นักศึกษามักเผชิญ




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปิยวรรณ รุ่งวรพงศ์, คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

Ph.D. (Education), อาจารย์ สาขาวิชาภาษา