การพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 4 โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ ใจอ่อน

บทคัดย่อ




การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 ที่ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และเจตคติเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เน้นการวิเคราะห์โพรโตคอล (Protocol Analysis) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analysis Description) ในการอธิบายผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ นักเรียน รวมถึงการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของ นักเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 153 คน จากโรงเรียนบ้านป่าคลอก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต จำนวน 26 คน และโรงเรียนอุตรกิจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากระบี่ จำนวน 127 คน ปีการศึกษา 2560 ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ โพรโตคอลการสอน โพรโตคอลการสัมภาษณ์ ภาพถ่าย และบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และแบบประเมินเจตคติเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ใช้ กรอบการวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบการประเมินความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของ Saito (2008)


ผลการวิจัย พบว่า การสอนด้วยวิธีการแบบเปิดทำให้นักเรียนมีความสามารถเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เพิ่มมากขึ้น เห็นได้จาก 1) นักเรียนกล้าคิดและกล้าแสดงออกมากขึ้น มีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้น กล้าออกไปนำเสนอ ผลงานหน้าช้ันเรียน และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ท้ังนี้นักเรียนยังมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทาง คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนทุกองค์ประกอบของการคิด 2) นักเรียนมีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เพิ่มมากขึ้น โดยพฤติกรรมของนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ นักเรียนคาดเดาคำตอบและวิธีการคิดก่อน แก้ปัญหา และนักเรียนมั่นใจในวิธีการคิดของตัวเอง




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จุฬาลักษณ์ ใจอ่อน, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ปร.ด. (คณิตศาสตรศึกษา), อาจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์