เทคนิคจำเป็นในการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ

Main Article Content

วชิระ ดวงใจดี

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการหลักสูตรมีพันธกิจสำคัญทั้งการพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผลหลักสูตรซึ่งจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับ 1) ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับหลักสูตรในการกำหนดจุดหมายและทิศทางสำหรับการพัฒนาและการนำหลักสูตรของโรงเรียนไปใช้อย่างครอบคลุม 2) การพัฒนาหลักสูตรมีความจำเป็นในการก่อตั้งหน่วยงานและคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักสูตร เช่น ผู้อำนวยการหลักสูตร หัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้างาน และครู เป็นต้น ซึ่งกระบวนการคัดเลือกบุคลากรมาปฏิบัติงานทางด้านหลักสูตร จะต้องมุ่งเน้นการสรรหาผู้นำทางด้านหลักสูตร (Curriculum Leadership) ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทุกระดับ อีกทั้งควรมีความสามารถในการสร้างทีมงานที่ตระหนักถึงภาระบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรโดยมีวิธีการคัดเลือกตัวแทนสำหรับการพัฒนาหลักสูตร 5 วิธีการ คือ อาสาสมัคร การหมุนเวียน การคัดเลือกโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การคัดเลือกจากเพื่อน การคัดเลือกจากฝ่ายบริหาร บุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมตัวกันในรูปแบบของคณะกรรมการจะต้องตระหนักถึงพันธกิจ วิสัยทัศน์ ปรัชญา ของหลักสูตรและการกeหนดหลักการ เป้าหมายหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผลการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผล สิ่งสนับสนุนอื่นๆ โดยกระบวนการให้ได้มาซึ่งฉันทามติในประเด็นดังกล่าว มีเทคนิควิธีการ 5 เทคนิคคือ เทคนิคบทสนทนา (The DialogueTechniques), เทคนิคเดลฟาย (The Delphi technique), เทคนิคฟิชโบล (The Fishbowl Technique), เทคนิคเทลสตาร์ (The Telstar Technique), เทคนิคการกำหนดกลุ่ม The Nominal Group Technique และเทคนิคที่ผู้เขียนได้นำเสนอ ทั้งนี้ ผู้นำทางหลักสูตร นักพัฒนาหลักสูตรอีกทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาใช้หรือประยุกต์ใช้ โดยพิจารณาทั้งข้อดีและข้อด้อยของแต่ละวิธี จึงเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
บทความวิชาการ