การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน 2) ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังจากการเรียนรู้เนื้อหาจากหลักสูตรท้องถิ่นและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง และเก็บข้อมูลด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 30 โรงเรียน โรงเรียนละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test Dependent และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัย สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 30 หลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตรท้องถิ่นมีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้คือ (1) ความสำคัญ (2) คำอธิบายรายวิชา (3)จุดประสงค์การเรียนรู้ (4) โครงสร้างหลักสูตร (5) แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (6) แผนการจัดการ เรียนรู้ (7) สื่อประกอบการเรียนรู้และ (8) การประเมินผลองค์ประกอบของแต่ละหลักสูตรมีเหมาะสมและสอดคล้องกัน 2) ผลการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 30 หลักสูตร พบว่า ผลการเรียนรู้หลักสูตร ท้องถิ่นจากภูมิปัญญาพื้นบ้านของนักเรียนแต่ละหลักสูตรก่อนและหลังการใช้หลักสูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย โดยมีผลการเรียนรู้หลังการใช้หลักสูตรแต่ละหลักสูตรอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าผลการเรียนรู้ก่อนใช้หลักสูตร 3) ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรท้องถิ่นแต่ละหลักสูตร นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยหลักสูตรเรื่องการแสดงดิเกปุตรี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 2.97, S.D. = .10) และหลักสูตรเรื่อง หมวกกะปิเย๊าะ นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ( = 2.89, S.D. = .31) ซึ่ง แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรท้องถิ่นแต่ละหลักสูตรสอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน เนื้อหาของหลักสูตรน่าสนใจ เข้าใจง่าย ทำให้นักเรียนได้รู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตรท้องถิ่นทำให้นักเรียนได้รับความรู้ และความสนุกสนาน รูปแบบของใบความรู้และใบงานมีความน่าสนใจ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร ท้องถิ่นเป็นไปตามขั้นตอน เข้าใจง่าย กิจกรรมปฏิบัติจริงทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจและทำกิจกรรมได้ตามขั้นตอนสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เหมาะสมและการประเมินผลเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้