พฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

อรนภา ทัศนัยนา
ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร จำนวน 7,145 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) ขนาดกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความ เชื่อมั่น 95% ค่าความคลาดเคลื่อน ± 5% ได้กลุ่มตัวอย่าง 383 คน จากนั้นกำหนดสัดส่วนจากนิสิตชั้นปีที่ 1-4 ของแต่ละคณะ ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ จำนวน 148 คน คณะวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 119 คน คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมการเกษตร จำนวน 52 คน และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมการ ออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ส่วนใหญ่ นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ในระดับมาก (ร้อยละ 50.40) รองลงมาคือ ระดับปานกลาง (ร้อยละ 36.60) และระดับต่ำ (ร้อยละ 13.10) ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 61.40 มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง และ ร้อยละ 38.60 มีทัศนคติอยู่ในระดับดี ส่วนด้านพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของนิสิต พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับดีในประเด็นดังนี้ ขณะออกกำลังกายนิสิตเลือกใส่รองเท้าและสวมชุดตามความเหมาะสมของแต่ละชนิดกีฬา (gif.latex?\bar{x} = 2.60, S.D = 0.54) รองลงมาคือ นิสิตยอมรับข้อตกลงระเบียบและกติกาของสถานที่ในการออกกำลังกาย (gif.latex?\bar{x} = 2.59, S.D = 0.55) และนิสิตออกกำลังกาย โดยมีเป้าหมายทุกครั้ง (gif.latex?\bar{x} = 2.55, S.D = 0.56) ตามลำดับ พฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับปานกลาง ในประเด็นดังนี้ นิสิตออกกำลังกายต่อไปแม้ว่าจะพบความผิดปกติของร่างกายเพราะกำลังสนุก (gif.latex?\bar{x} = 1.88, S.D = 0.76) รองลงมาคือนิสิตไม่ออกกำลังกายหากไม่มีเพื่อนไปด้วย (gif.latex?\bar{x} = 1.75, S.D = 0.68) และนิสิตไม่ได้วางแผนการออกกำลังกายไว้ล่วงหน้า ( gif.latex?\bar{x}= 1.66, S.D = 0.64) ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับไม่ดี คือ ช่วงเวลาในการออกกำลังกายของนิสิตขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ไม่ได้กำหนดเป็นเวลาเดียวกัน (gif.latex?\bar{x} = 1.53, S.D = 0.58) และ นิสิตออกกำลังกายจนรู้สึกเหนื่อยและมีเหงื่อออก ( gif.latex?\bar{x}= 1.45 ,S.D = 0.55) และเมื่อพิจารณาระดับพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายระดับปานกลาง ร้อยละ 90.90 รองลงมามีพฤติกรรมการออกกำลังกายระดับดี ร้อยละ 8.40 และ พฤติกรรมการออกกำลังกายระดับไม่ดี ร้อยละ 0.80    

Article Details

บท
บทความวิจัย