การพัฒนากิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

อุไรวรรณ หาญวงค์

บทคัดย่อ




การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) พัฒนากิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ด้านจิตวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 เป็นผู้เช่ียวชาญ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ครูที่มีประสบการณ์จัดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์ และครูท่ีสอนระดับประถมศึกษา และกลุ่มท่ี 2 เป็นกลุ่มนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ คือนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 4 ถึง 6 ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจาก 3 โรงเรียน คือ 1) โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ ช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่ 2) โรงเรียนปางมะกาดวิทยา จังหวัดเชียงราย และ 3) โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1 จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ 5 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินคุณภาพคู่มือกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์ รุ่นเยาว์ 3) กิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 4) คู่มือกิจกรรมชุมนุมนัก วิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 5) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 6) แบบประเมินความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ 7) แบบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉล่ีย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้กิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ 2 ประเภทคือ 1) ประเภทชีวภาพ 5 ชุมนุม และ 2) ประเภทกายภาพ 6 ชุมนุม ทุกกิจกรรมชุมนุมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีขอบเขตค่าเฉล่ีย ระหว่าง 3.29.ถึง 4.57 และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากและมากท่ีสุด มีขอบเขตค่าเฉล่ียระหว่าง 3.86 ถึง 4.71 คุณภาพของคู่มือกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.42, SD = 0.53) 2) หลัง การจัดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่าจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน อยู่ในระดับรู้คุณค่า (gif.latex?\bar{X} = 3.44, SD = 0.83) และสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมทุกกิจกรรมชุมนุม ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนร้อยละ 76.70 มีคะแนน ≥ 70% มีคะแนนร้อยละระหว่าง 66.67 ถึง 85.71 และ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมชุมนุมและภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.49, SD = 1.03)




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อุไรวรรณ หาญวงค์, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศษ.ด. (หลักสูตรและการสอน), ผู้ช่วยศาสตราจารย์