ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ท่ีมีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

เกรียงศักด์ิ วิเชียรสร้าง
ณัฐินี โมพันธุ์
อาฟีฟี ลาเต๊ะ

บทคัดย่อ




การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี 6 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนรวม 30 คน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้ แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสัมภาษณ์นักเรียน ดำเนินการทดลองตามรูปแบบ กลุ่มเดียววัดหลาย ครั้งแบบอนุกรมเวลา (The One-Group Pretest-Posttest Time-Series Research Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Growth Score) การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่าง ไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent group) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (Repeated ANOVA Test)


ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เฉลี่ยวิชาเคมีหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติท่ีระดับ .01 และมีคะแนนพัฒนาการทางการ เรียนวิชาเคมีเฉลี่ยร้อยละ 54.67 ซ่ึงมีพัฒนาการระดับสูง 2. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างอย่างมีนัยทางสถิติท่ีระดับ .01 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด




Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เกรียงศักด์ิ วิเชียรสร้าง, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน), นักศึกษาปริญญาโท 

ณัฐินี โมพันธุ์, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ปร.ด. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา), อาจารย์ 

อาฟีฟี ลาเต๊ะ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ปร.ด. (การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา), ผู้ช่วยศาสตราจารย์