การพัฒนามาตรวัดการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ของเด็กปฐมวัยในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางการวัดของมาตรวัดการเข้าใจความรู้สึกของ ผู้อื่นของเด็กปฐมวัย ทั้งในด้านคุณภาพรายข้อ ความเที่ยงและความตรงทั้งฉบับ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยท่ีมีอายุ ระหว่าง 3 -5 ปี ที่อยู่ในจังหวัดชลบุรี จานวน 350 คน
ผลการวิจัยพบว่า มาตรวัดการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของเด็กปฐมวัย มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคาถามทั้งสิ้น 35 ข้อ ข้อคาถามทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหาท่ีดี (ทุกข้อมีค่า CVI เท่ากับ 1.00) ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในทั้งฉบับ เท่ากับ .90 ซึ่งจาแนกเป็นองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) การเข้าใจ ความรู้สึกของผู้อื่นด้านอารมณ์ (17 ข้อ) มีค่าอานาจจาแนกตั้งแต่ 0.21-0.60 ค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน ตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ 0.76 และ 2) การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นด้านความคิด (18 ข้อ) มีค่าอานาจจาแนก ต้ังแต่ 0.23-0.75 ค่าความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ .83 ขณะที่โมเดลองค์ประกอบ เชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าสถิติ ไค - สแควร์ เท่ากับ 377.83 ค่าองศา อิสระ (df) เท่ากับ 464 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.99 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ค่า AGFI เท่ากับ 0.96 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ค่า SRMR เท่ากับ 0.04 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามาตรวัดการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของเด็กปฐมวัยเหมาะสาหรับใช้เป็นเครื่องมือวัดความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของเด็กปฐมวัย