ผลของกิจกรรมการเรียนรู้อัลกุรอาน ต่อทักษะพื้นฐานด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

ไอมีย์ อาแว
บัญญัติ ยงย่วน
แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
นนทสรวง กลีบผึ้ง
อณัส อมาตยกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะพื้นฐานด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยก่อนการ จัดกิจกรรมและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อัลกุรอานในกลุ่มทดลอง 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะพื้นฐาน ด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยหลังเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อัลกุรอาน ระหว่างกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้อัลกุรอานและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อัลกุรอาน โดยทาการทดลองในเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านโตะบาลา อาเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีกลุ่มตัวอย่างจานวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมการเรียนรู้ อัลกุรอาน 24 แผน และแบบประเมินทักษะพื้นฐานด้านการอ่านทั้งหมด 23 ข้อ ดัดแปลงมาจากปรารถนา เทียนสุวรรณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon Sign - Rank Test และ Mann - Whitney U Test


ผลการศึกษาพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน ด้านการโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ ปรากฏในภาพกับประสบการณ์เดิม ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา และโดยรวมภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนรู้อัลกุรอาน สูงกว่าก่อนการจัดกิจรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการจา จากการระลึกเหตุการณ์ท่ีเด็กเคยมีประสบการณ์ ด้านการกวาดสายตาจากซ้ายไปขวา ด้านการสรุปและการแก้ปัญหา ด้านการแปลความจากภาพ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 ซึ่งมีทักษะ พื้นฐานด้านการอ่าน ด้านการจาแนกกลุ่มหรือจัดกลุ่มสิ่งของ ด้านการแยกแยะความแตกต่างและสรุปความคล้ายคลึง และด้านการพูดและการใช้ภาษาที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อัลกุรอาน 2) ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้อัลกุรอาน เด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้อัลกุรอานมีคะแนนทักษะพื้นฐาน ด้านการอ่านแตกต่างกับเด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ในด้านการจาจากการระลึกเหตุการณ์ท่ีเด็กเคยมีประสบการณ์ และด้านการสรุปและการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีทักษะพื้นฐานด้านการอ่านด้านการจาแนกกลุ่มหรือจัดกลุ่มสิ่งของด้านการโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ปรากฏในภาพกับประสบการณ์เดิมด้านการแยกแยะความแตกต่างและสรุปความคล้ายคลึงด้านการกวาดสายตาจากซ้ายไปขวาด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตาด้านการพูดและการใช้ภาษาด้านการแปลความจากภาพและโดยรวมที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อัลกุรอาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ไอมีย์ อาแว, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

วท.ม. (พัฒนาการมนุษย์), นักศึกษาปริญญาโท

บัญญัติ ยงย่วน, สถาบันแห่งชาติเพ่ือการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ปช.ด.(ประชากรศาสตร์), ผู้ช่วยศาสตราจารย์

แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.บ., ว.ว (กุมารแพทย์พัฒนาการเด็ก), อาจารย์ 

นนทสรวง กลีบผึ้ง, สถาบันแห่งชาติเพ่ือการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Ph.D. (Philosophy in Communication), อาจารย์ 

อณัส อมาตยกุล, สถาบันแห่งชาติเพ่ือการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

Ph.D. (ภาษาและวรรณคดีอาหรับ), อาจารย์