ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับการเรียนตามคู่มือครู เรื่อง วงจรไฟฟ้า ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความฉลาดทางอารมณ์ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีเพศต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้ประสบ ความสำเร็จนั้นมีหลากหลายวิธี วิธีการหนึ่งที่ได้ผลดีคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม บทเรียน เนื่องจากเป็นระบบสื่อสารการเรียนการสอนที่มีการนำเนื้อหาวิชา โดยให้ผู้เรียนโต้ตอบกับบทเรียนในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ต้องอาศัยครูหรือผู้สอนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมบทเรียนเรื่องวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนตามคู่มือครู เรื่องวงจรไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีเพศต่างกัน (4) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์หลังเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับ การเรียนตามคู่มือครู เรื่องวงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีเพศต่างกัน และ (5) เพื่อศึกษาความคงทนในความรู้ของผู้เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้าของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนในรายวิชาช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มที่ 1 แยกเป็นนักเรียนหญิง 20 คน นักเรียนชายจำนวน 20 คน รวมเป็น 40 คน เรียนตามคู่มือครู กลุ่มที่ 2 แยกเป็นนักเรียนหญิงจำนวน 20 คน นักเรียนชาย จำนวน 20 คน รวมเป็น 40 คน เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ชนิด ได้แก่ (1) โปรแกรมบทเรียน เรื่องวงจรไฟฟ้า จำนวน 4 หน่วยการเรียน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องวงจร ไฟฟ้า เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความยาวรายข้อตั้งแต่ .33 ถึง .75 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .50 ถึง .83 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .58 (3) แบบ ประเมินความฉลาดทางอารมณ์เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 52 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก รายข้อตั้งแต่ .31 ถึง .76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ Dependent Samples t-test สำหรับการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมบทเรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.81/83.00
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรม เรื่อง วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.5100 คิดเป็นร้อยละ 51.00
3. นักเรียนที่มีเพศต่างกันหลังเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับเรียนตามคู่มือครู เรื่อง วงจร ไฟฟ้า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่มีเพศต่างกันหลังเรียนด้วย โปรแกรมบทเรียน กับเรียนตามคู่มือครูเรื่อง วงจร ไฟฟ้า มีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
5. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์ แตกต่างจากคะแนนหลังเรียน อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The Result of Program Learning with Conventional Teaching Approach in the Topic of Electrical Circuit Affects the Effective, Emotional Quotient and Endurance Knowledge in Different Sex M.5 Students of Pathumrat Pittayakom School
There are many ways to provide successful activities to students who study in technological field. One of the most successful methodologies is by lesson program. The purposes of this study were (1) to develop the lesson program through computer mediated I in the topic of electrical circuit of M.5 students with a required efficiency of 80/80,(2) to find out an effectiveness index of the lesson program through computer mediated in the topic of electrical circuit of M.5 students (3) to compare leaning achievement of M.5 students with different sex in the topic of electrical circuit through the computer mediated with the conventional teaching approach (4) to compare the emotional quotient after learning with the lesson program through computer mediated of M.5 students with different sex in the topic of electrical circuit (5) to study learners endurance knowledge with the lesson program through computer mediated of M.5 students with different sex in the topic of electrical circuit after two weeks. The sample used in this study consisted of 80 students of M.5 students of Pathumrat Pittayakom school under the office of Roiet Educational service Area Zone 27 in The first semester of the academic year 2010. One class was used as an experimental group and the other was used as a control group. They were selected by using the purposive sampling technique. In each group composed of 20 boys and 20 girls. Three of instruments used in this study were 4 units of the lesson program through computer mediated in the topic of electrical circuit of M.5 students, a 4-alternative achievement test with 40 items, an emotional quotient with 52 items 4-aiternatives.Statistics used for analyzing data were mean, standard deviation, and percentage; and t-test (independent samples) were employed for testing hypotheses.
The results of the study were as follows :
1. The lesson program through computer mediated in the topic of electrical circuit of M.5 students had an efficiency of 83.81/83.00
2. The lesson program through computer mediated in the topic of electrical circuit of M.5 students had an effectiveness index of 0.5100 showing the students progressed their learning 51.00 percent.
3. Comparison of leaning achievement of M.5 students with different sex the topic of electrical circuit through the computer mediated with the conventional teaching approach showing different learning achievievement at the significant level of .05
4. Comparison of the emotional quotient after learning with the lesson program through computer mediated of M.5 students with different sex in the topic of electrical circuit at the significant level of .05
5. Learners endurance knowledge with lesson program through computer mediated of M.5 students with different sex in the topic of electrical circuit after two weeks at the significant level of .05
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์