ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่อง การตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อปที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการรู้คอมพิวเตอร์ต่างกัน

Main Article Content

ปิยะ พันธะไชย
ไชยยศ เรืองสุวรรณ
ไพฑูรย์ สุขศรีงาม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่อง การตกแต่งภาพ ด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยโปรแกรมบท เรียนเรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป โดยรวมและจำแนกตามการรู้คอมพิวเตอร์ ต่างกัน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยโปรแกรม บทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อปของนักเรียนที่มีการรู้คอมพิวเตอร์ต่างกัน 5) ศึกษาความคงทนในการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป ของนักเรียนที่มีการรู้คอมพิวเตอร์ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 79 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วใช้แบบวัด การรู้คอมพิวเตอร์ทดสอบเพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กล่มุ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ นักเรียน 20 คนแรก เป็นนักเรียนที่มีระดับการรู้คอมพิวเตอร์สูง และกลุ่มที่ 2 คือ นักเรียน 20 คนสุดท้ายเป็นนักเรียนที่มีระดับการรู้คอมพิวเตอร์ต่ำ รวม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย โปรแกรม บทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการตกแต่งภาพ ด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป ซึ่งเป็นแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบ ทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดการรู้คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบ วัดการรู้คอมพิวเตอร์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test

ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1) โปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป สำหรับนักเรียนกลุ่มที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ต่ำ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.16/80.37 และนักเรียน กลุ่มที่มีการรู้คอมพิวเตอร์สูง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.33/80.50 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของ โปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป สำหรับนักเรียนกลุ่มที่มีการรู้ คอมพิวเตอร์ต่ำ มีค่าดัชนีประสิทธิผลได้เท่ากับ 0.6349 และนักเรียนกลุ่มที่มีการรู้คอมพิวเตอร์สูง ค่าดัชนีประสิทธิผลได้เท่ากับ 0.6510 3) นักเรียนเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพ ด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป แล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์โดย รวมสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนเรียนด้วยโปรแกรมบท เรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อปแล้วมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ จำแนกตามการรู้คอมพิวเตอร์สูงและต่ำ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนที่มีการรู้คอมพิวเตอร์ต่างกัน หลังเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อปมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเคราะห์หลังเรียน ไม่แตกต่างกัน 6) นักเรียนที่มีการรู้คอมพิวเตอร์ต่างกัน มีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน

โดยสรุป โปรแกรมบทเรียน เรื่องการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมโฟโตช็อป มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลต่อผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและมีคุณลักษณะตามที่ต้องการได้เป็นอย่างดี

 

The Effects of Learning Through Courseware Entitled Photoshop on Critical Thinking of Mattayomsuksa 6 Students with Different Computer Literacy

The objectives of this study were : 1) to develop a courseware entitled Photoshop for sixth year secondary school student with the efficiency criterion of 80/80; 2) to find an effectiveness indicator of the courseware; 3) to compare learning achievement and analyze the critical thinking before and after using the courseware entitled Photoshop base on the difference in computer literacy 4) to compare learning achievement and analyze the critical thinking after using the courseware entitled Photoshop of student having the difference in computer literacy; 5) to investigate the durability in using the courseware entitled Photoshop for learning of students having the difference in computer literacy.

The sample group in this study consisted of 79 sixth year secondary school students of Salehpum phittayakom School, Salehphum districrt, Roi–Et province, Roi–Et Education Area Region 3. These students were enrolled in 2nd semester, school year 2007 and they were divided into 2 groups (Cluster Random Sampling). A computer literacy test was conducted with the sample group in order to sort them into 2 groups group first included those having a high level of computer literacy and second group include those having a low level of computer literacy. Each group comprised 20 students. Instruments used in this study were : 1) the learning program 2) learning achievement test with 4 multiple choices (40), Occupation and Technology group 3) critical proficiency test with 4 multiple choices (30 item). Obtained data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t–test was used for hypothesis testing. Results of the study revealed the following : 1) The courseware entitled Photoshop for the student group having a low level of computer literacy had an efficiency value of 82.16/80.37 and 82.33/80.50 for the student group having a high level of computer literacy. 2) The effectiveness indicator value of the courseware entitled Photoshop for the student group having a low level of computer literacy was 0.6349 and 0.6510 for the other student group. 3) The students using the courseware entitled Photoshop had a better learning performance and critical thinking than before using the courseware. (statistical significance level at .05) 4) The students using the courseware entitled Photoshop had a better learning performance and critical thinking than before using the courseware based on the level of computer literacy. (statistical significance level at .05) 5) The students having different level of computer literacy, after using the courseware entitled Photoshop, had no difference in learning achievement and critical thinking. (statistical significance level at .05) 6) The students having different level of computer literacy had no difference in durability in learning.

In conclusion, the courseware entitled Photoshop had an efficiency and effectiveness toward learners. Besides, it can be applied to facilitate learning activities for learner development to meet the desired learner characteristics.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)