ภูมิศิลป์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

Main Article Content

ชำนาญ แก้วสว่าง
บํารุง พาทยกุล
สุพรรณี เหลือบุญชู

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิศิลป์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัยจากภูมิคิลป์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ชุด "ลำนำลำทุ่งท้องถิ่นอ่างทอง" เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาจากเอกสารงานวิจัย และสัมภาษณ์ผู้เขี่ยวชาญทางด้านการแสดงเพลงพื้นบ้านของภาคกลาง จำนวน 4 ท่าน โดยกำหนดเพลงที่ศึกษาจำนวน 5 ประเภทเพลง ได้แก่ เพลงอีแขว เพลงลำตัด เพลงเรือ เพลงยั่วกลองยาว และเพลงขอทาน นำไปสู่การสร้างสรรค์เพลงไทยร่วมสมัยจากภูมิคิลป์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ชุด ลำนำลำทุ่งท้องถิ่นอ่างทอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำประพันธ์บทร้อง และทำนองของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ผลการวิจัยพบว่า บทร้องของเพลงพื้นบ้านภาคกลาง ทั้ง 5 ประเภทเพลง มีรูปแบบการใช้บทร้องที่คล้ายคลึงกัน คือ มีลักษณะเป็นกลอนหัวเดียว ใช้ภาษาเรียบง่ายเป็นแบบชาวบ้าน สะดวกต่อการร้อง ด้น ด้านทำนองและจังหวะมีการร้องด้วยทำนองเกริ่น ทอดลงจบด้วยลูกคู่ร้องรับ มีการนำคำเอื้อนเข้ามาผสมผสานกับคำร้องและคำร้องสร้อย เป็นการร้องต่อกลอนและการร้องต้นของผู้ร้อง มีคำร้องประมาณ 8 - 10 คำ ใน ส่วนของจังหวะ พบว่า ทั้ง 5 ประเภทเพลง มีการใช้จังหวะที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ จังหวะอัตราสองขั้น และอัตรา จังหวะขั้นเดียว ในยุค แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ (คิลปินแห่งชาติ) มีการนำเครื่องดนตรีที่มีอยู่ตามพื้นบ้านเข้ามาประกอบจังหวะในการร้องเป็นการเพิ่มอรรถรสให้แก่ผู้ชม กำกับจังหวะด้วยหน้าทับสองไม้ หน้าทับลาว และหน้าทับปรบไก่ เกิดความครึกครื้นสนุกสนาน และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

จี ศรีนิวาสัน. (2534). สุนทรียศาสตร์ ปัญหาและทฤษฎีว่าด้วยความงามและศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

จัตุชัย จําปาหอม.(2552) การจัดการความรู้ภูมิปัญญาไทยด้านไม้มวยไทยโบราณ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขามวยไทย วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏ หมู่บ้านจอมบึง,

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2562). ทฤษฎีการสร้างสรรค์ศิลป์. เอกสารประกอบการเรียนรู้รายวิชา ระเบียบวิธีวิจัยและการสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์ รหัสวิชา 434-401 ระดับดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

ดวงเดือน สดแสงจันทร์. (2544). การศึกษาเพลงพื้นบ้านคณะขวัญจิต ศรีประจันต์. ปริญญานิพนธ์ ศิลปกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นริศรา ศรีสุพล. (2558). การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ พื้นเมืองจากวรรณกรรมเรื่องอุสาบารสในบริบทวัฒนธรรม. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. ปีที่ 17. (ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม) : 76-83

เพชรดา เทียมพยุหา มานพ วิสุทธิแพทย์ และกาญจนา อินทรสุนานนท์. (2557). “การศึกษาดนตรีร่วมสมัย : กรณีศึกษาวงกำไล.” วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(1), 73-76.

พูนพิศ อมาตยกุล, บรรณาธิการ. (2552). เพลง ดนตรี และนาฏศิลป์ จากสาส์นสมเด็จ .นครปฐม : วิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2552). เพลงดนตรี : จากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ถึงพระยาอนุมานราชธน. นครปฐม : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พงษ์สิทธิ จักรสมิทธานนท์. (2533). การออกแบบเพื่อความกลมกลืนในวงปี่พาทย์ร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ศิลป บัณฑิต ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ภวัฐ คำภาพันธ์. (2561). การจัดการองค์ความรู้เพื่อการสงวนรักษาเพลงพื้นบ้าน : กรณีศึกษานางจำรัส อยู่สุข. วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2552). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระการเรียนรู้ ดนตรีและนาฏศิลป์. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา.

รัชกฤช คงพินิจบวร.กิจกรรมดนตรีไทยร่วมสมัย : แนวทางการสอนดนตรีศึกษาในโรงเรียน สำหรับศตวรรษที่ 21 วารสารดนตรีบ้านสมเด็จ.

สุรพล สุวรรณ. (2549). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้ท์ จำกัด.

Nik Preston. (2017). 21 st Century Music Education. [Online]. Available from : https : //nafme.org/21st-century-music-education/ [14 February 2019].